ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญสุธรรม นันทมงคลชัยมลินี สมภพเจริญวรลักษณ์ จงเลิศมนตรี, เรือตรีหญิง2024-01-132024-01-13255725672557วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (บริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92595บริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข (มหาวิทยาลัยมหิดล 2557)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนจานวน 180 คน สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วย การทดสอบ ไคสแควร์ การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า องค์กรพัฒนาเอกชนมีส่วนร่วมในการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ตกับภาครัฐ ด้านการสงเคราะห์มากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =3.86) และมีส่วนร่วมด้านนโยบายน้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.67) เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ตระดับดี ร้อยละ 57.8 ข้อกฎหมายที่ตอบถูกมากที่สุดอยู่ในพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 คิดเป็นร้อยละ 97.2 การคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ตตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน ทั้ง 7 ด้าน พบว่า เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนส่วนใหญ่มีการรับรู้ เกี่ยวกับการดาเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.69) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ตของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนกับภาครัฐ ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ตมีความสัมพันธ์กับการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ตตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนและพบว่า ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ตของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนกับภาครัฐ ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ตของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนมีอิทธิพลต่อการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ตตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งสามารถอธิบายอิทธิพลได้ร้อยละ 38.1 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ส่งเสริมองค์กรพัฒนาเอกชนให้มีส่วนร่วมกับภาครัฐและเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ตThe object of this research was to survey factors that influence children's protection from undesirable media according to personnel of non- governmental organizations (NGOS). Data were collected, then analyzed using descriptive statistics and analytical statistics such as Chi-square, Pearson's product moment correlation coefficient, and multiple regression to determine the significance of survey results. This research found that NGOS in collaboration with governmental agencies are most effective in protecting children from exploitation from undesirable media, having an average score of 3.86. NGOS and governmental agencies have the least collaboration on policy of children's protection with an average score of 3.67. Personnel in the survey are reasonably knowledgeable (57.8%) about laws protecting children from undesirable media through the internet. Most of the surveyed subjects (97.2%) answered correctly to questions related to the children's protection bill of 2546. The majority indicated that the most important project in children's protection is the prevention of children's sexual exploitation from the internet, having an average score of 4.69. The collaboration factor between NGOS and governmental agencies and knowledge of the laws factor had relationship and influence on the effectiveness of protecting children from undesirable media through the internet, which could explain predictive power of 38.1%. These results suggest that there should be a greater collaboration between private foundations and governmental agencies and personnel should be encouraged to know the law protecting children from undesirable media on internetก-ญ, 158 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการรับรู้เด็ก -- การคุ้มครองอินเทอร์เน็ตกับเด็กปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคุ้มครองเด็กจากสื่อที่ไม่พึงประสงค์ทางอินเทอร์เน็ต ตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนFactors that influence protection of children by NGOS from undesirable media through internetMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล