กุลิสรา เผ่าพันธ์สุปรียา ตันสกุลมณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์นิรัตน์ อิมามีKurisara PaopanSupreya TansakulManirat TherawiwatNirat Imameeมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์2020-12-302020-12-302563-12-302559วารสารสุขศึกษา. ปีที่ 39, ฉบับที่ 132 (ม.ค.- มิ.ย. 2559), 7-22https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/60614การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงระดับชั้นปีที่ 1 จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 50 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 50 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุข ศึกษาโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเอง ร่วมกับการเสริมสร้างทักษะชีวิตและการเรียนรู้แบบมีส่วน ร่วม กิจกรรมการเรียนรู้จัดขึ้น 6 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้งๆละ 90 นาทีประกอบด้วย การบรรยายประกอบ พาวเวอร์พอยท์ ชมวีดีทัศน์ อภิปรายกลุ่ม การสาธิต เล่นเกม การแสดงบทบาทสมมติ การใช้ตัวแบบ การใช้ คำพูดชักจูง การฝึกทักษะการตัดสินใจ และทักษะการปฏิเสธ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ การแจงแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย Paired samples t-test และ Independent’s t-test ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติต่อการป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลดี ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการ ปฏิเสธ และการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติThis quasi-experimental research aimed to explore the effects of health education program on prevention of sexual risk behaviors among female vocational students in Bangkok. The samples were 100 female vocational first-year students, comprising 50 persons in the experimental group and 50 persons in the comparison group. The experimental group had been provided with the health education program based on the self-efficacy theory in combination with the promotion of life skills and participatory learning. Six learning activities consisted of the lecture with PowerPoint presentation, video presentation, group discussion, demonstration, game play, role play, modeling, verbal persuasion, decision-making skills and refusal skills training, which had been held once a week, totaling 6 times, for 90 minutes per time. The data were collected by using the questionnaire. The data analysis was made by using the statistics of frequency distribution, percentage, mean, paired samples t-test, and independent’s t-test.The results of the study revealed that after the experiment, the experimental group had significantly higher mean scores of knowledge, attitudes, perceived self-efficacy, outcome expectations, decisionmaking skills, refusal skills, and preventive sexual risk behavior than before the experiment and the comparison group with a statistical significancethaมหาวิทยาลัยมหิดลโปรแกรมสุขศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศการรับรู้ความสามารถตนเองทักษะชีวิตนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงHealth education programSexual risk behaviorPerceived self-efficacyLife skillsFemale vocational studentsผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงกรุงเทพมหานครEffects of Health Education Program on Prevention of Sexual Risk Behaviors Among Female Vocational Students in BangkokResearch Articleคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล