อัญศินีย์ นันตะสุคนธ์สุภาพร อัศวกิจพานิชอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจAunsinee NantasukhonSupaporn AusawakijpanichApinya Siripittayakunkitมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.ฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สิริกิติ์2020-05-132020-05-132563-05-132562วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 6, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), 42-54https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/55137การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและอาการปวดบริเวณแผล ในผู้ป่วยหลังการสวนหัวใจ ระหว่างใส่สายสวนหัวใจที่หลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบกับหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยหลังการสวนหัวใจ ที่เขารับการรักษาในหอผู้ป่วยหลังทำหัตถการหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 284 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล แบบประเมินผู้ป่วยหลังทำหัตถการใส่สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดแดง และแบบสอบถามความปวดแผลภายหลังการใส่สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดง ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใส่สายสวนหัวใจส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 66.42 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใส่สายสวนหัวใจทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด 23 ราย พบมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังชั้นลึก (hematoma) จำนวน 10 ราย มีจ้ำเลือด (ecchymosis) จำนวน 9 ราย และพบว่ามีแผลเลือดออก (bleeding) จำนวน 4 ราย และกลุ่มตัวอย่างที่ใส่สายสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด 3 ราย พบว่ามีก้อนเลือดใต้ผิวหนังชั้นลึก จำนวน 1 ราย มีจ้ำเลือด จำนวน 1 ราย และมีแผลเลือดออก จำนวน 1 ราย สำหรับความปวดแผลภายหลังการใส่สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ใส่สายสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดง ไม่มีอาการปวดแผล ในกลุ่มที่มีอาการปวดแผลพบอาการปวดบริเวณแผลขาหนีบ จำนวน 12 ราย ปวดแผลบริเวณข้อมือ จำนวน 2 ราย สรุปจากผลการวิจัยได้ว่า การเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและอาการปวดแผลภายหลังการใส่สายสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบหรือบริเวณข้อมือเป็นสิ่งที่พบได้ ทั้งระดับรุนแรงน้อยไปจนถึงระดับรุนแรงมาก โดยในกลุ่มตัวอย่างที่ใส่สายสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ พบภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดในสัดส่วนที่มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใส่สายสวนหัวใจผ่าน หลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ ดังนั้นพยาบาลควรมีการประเมินภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด และอาการปวดแผลตั้งแต่ระยะแรก รวมถึงมีการจัดการได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที จะช่วยป้องกัน หรือลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนลงได้This study was aimed to explore vascular complications and pain between transfemoral and transradial artery approach in post cardiac catheterization procudure The samples were purposively selected from June to July, 2018. Of these 284 patients underwent cardiac catheterization and had been observed in post catheterization care unit, Ramathibodi hospital. Data was collected using questionnaires patients after cardiac catheterization procedure through the arteries. The vascular complications was found in both transfemoral and transradial approach. For transfemoral approach, we found vascular complications included 10(4.9%) cases of hematoma, 9(4.1%) cases of ecchymosis, and 4(1.8%) cases of bleeding. In term of transradial approach, 1(1.6%) cases of hematoma, 1(1.6 %) cases of ecchymosis, and 1(1.6%) cases of bleeding. Most of patients after cardiac catheterization had no pain, however, 12 patients who had transfemoral approach had more pain than patients who had transradial approach. Conclusion : Vary severity of pain and complications can be found in both transradial and transfemoral cardiac catheterization. In this study, complication are more common in transfemoral and transradial approach. Early assessment and appropriate management by heathcare provider can minimize severity of complications.thaมหาวิทยาลัยมหิดลภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดการสวนหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงอาการปวดบริเวณแผลVascular complicationsCardiac catheterizationPain levelsการศึกษาภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดและอาการปวดบริเวณแผลในผู้ป่วย หลังการสวนหัวใจ ระหว่างใส่สายสวนหัวใจที่หลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ กับหลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ หอผู้ป่วยหลังทำหัตถการหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดีA study of the patients’ vascular complications and pain after cardiac catheterization between transfemoral artery and transradial artery approach at post catheterization care unit, Ramathibodi hospitalResearch Articleคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล