อภิสรา โชติภาภรณ์วรนันท์ บุตราชApisara ChotipapornWorranan Bootrach2024-08-132024-08-132567-08-132566วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. ปีที่ 10, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2566), 38-522392-568Xhttps://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/100467งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ทัศนคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามบุคคลอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรม ความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรม และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการนำนโยบายคณะคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Faculty) ไปสู่การปฏิบัติ โดยเก็บข้อมูล จากบุคลากร จำนวน 90 คน และนักศึกษาจำนวน 229 คนของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples Test: T-Test One-way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) ด้วยโปรแกรม SPSS version 18 ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรมีระดับทัศนคติต่อพฤติกรรม ความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรม และพฤติกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด มีระดับการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และการคล้อยตามบุคคลอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก สำหรับนักศึกษา พบว่า มีระดับทัศนคติต่อพฤติกรรมมากที่สุด มีระดับความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรม พฤติกรรม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก และมีระดับการคล้อยตามบุคคลอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรมในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมของบุคลากรและนักศึกษาได้แก่ ทัศคติที่มีต่อ (β = 0.63, p-value = 0.00 และ β = 0.41, p-value = 0.00 ตามลาดับ) การรับรู้ความสามารถในการควบคุม (β = 0.28, p-value = 0.00 และ β = 0.31, p-value = 0.00 ตามลาดับ) การคล้อยตามบุคคลอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคลากร (β = 0.09, p-value = 0.02) มีผลต่อความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรม ในขณะที่การคล้อยตามบุคคลอ้างอิงเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักศึกษา (β = 0.04, p-value = 0.21) ไม่มีผลต่อความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรม สำหรับความตั้งใจการแสดงพฤติกรรมของบุคลากร บุคลากร (β = 0.78, p-value = 0.00) และนักศึกษา (β = 0.63, p-value = 0.00) มีผลต่อพฤติกรรมการนำนโยบายคณะคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Faculty) สู่การปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญThis research studied the perception, attitudes, subjective norm, and behavior toward the Low Carbon Faculty policy of the Faculty of Environment and Resource Studies. The total population of 319 participants consisted of staff (90 respondents) and students (229 respondents). Statistical analysis was performed using SPSS version 18. The frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples Test: T-Test, One-way ANOVA, and regression analysis were used. The results showed that the attitude toward behavior, willingness, and behavior of staff were at the highest level, while perceived behavioral control of behavior and the subjective norm were at a high level. The students’ attitude toward the behavior was at the highest level. Willingness, behavior, and perceived behavioral control were at a high level. The subjective norm about the behavior was at a middle level. Factors affecting the willingness of staff and students to adopt the behaviors were: the attitudes toward the behavior for the staff (β = 0.63, p-value=0.00), and for the students (β = 0.41, p-value = 0.00), the perceived control of the behavior for the staff (β = 0.28, p-value = 0.00), and for the students (β = 0.31, p-value = 0.00 ), and subjective norms about the behavior of the staff (β = 0.09, p-value = 0.02). The subjective norms about the behavior of the students negatively influenced their willingness (β = 0.04, p-value = 0.21). The willingness of staff and students has a positive influence on their behavior (β = 0.78, p-value = 0.00 and β = 0.63, p-value = 0.00, respectively) toward the Low Carbon Faculty policy.15 หน้าapplication/pdfthaผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)การรับรู้ทัศนคติพฤติกรรมคณะคาร์บอนต่ำPerceptionCareer AttitudeBehaviorLow Carbon Facultyปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการนำนโยบายคณะคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Faculty) สู่การปฏิบัติของบุคลากรและนักศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลFactors Affecting to Staffs and Student’s Behavior toward Low Carbon Faculty Policy of Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol UniversityResearch Articleคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล