วรศิษฏ์ ศรีบุรินทร์ราตรี เรืองไทยไถ้ออน ชินธเนศThyon Chentanezมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา2014-08-252017-03-162014-08-252017-03-162014-08-252010-07วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, (ก.ค. 2553), 55-70https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/1419การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจงต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลทีม มหาวิทยาลัยมหิดล เพศชาย มีอายุระหว่าง 19-22 ปี จำนวน 30 คน ทดสอบสมรรถภาพทางด้านแอโรบิค คือ ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และทดสอบสมรรถภาพทางด้านแอนแอโรบิค คือ ความแข็งแรงเชิงมุมของกลุ่มกล้ามเนื้องอเข่าและเหยียดเข่า ระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และ กำลังของกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังให้โปรแกรมการฝึก โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ทำการฝึกแบบต่อเนื่อง กลุ่มที่ 2 ทำการฝึกแบบเกมสนามเล็ก และ กลุ่มที่ 3 ทำการฝึกแบบเฉพาะเจาะจง ทั้ง 3 กลุ่มฝึกร่วมกับโปรแกรมฝึกซ้อมฟุตบอลตามปกติ ทำการฝึก 3 วัน ต่อสัปดาห์ เป็น ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ ้า( ANOVA) และทำการเปรียบเทียบภายในกลุ่ม match paired t-test ก่อนการฝึกและหลังการฝึก โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0 .05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดและความ แข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่พบว่า ความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้องอเข่าของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มฝึกแบบต่อเนื่อง และอัตราส่วนความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้อ (งอเข่า/เหยียดเข่า) ระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และกำลังของกล้ามเนื้อของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็กมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มฝึกแบบต่อเนื่อง และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้พบว่าผลของการฝึก 8 สัปดาห์มีผลทำให้ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดและความแข็งแรงเชิงมุมของกล้ามเนื้องอเข่าของทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากก่อนการฝึก ส่วนระยะเวลาในการวิ่ง 30 เมตร ความคล่องแคล่วว่องไว และกำลังของกล้ามเนื้อภายหลังการทดลอง8 สัปดาห์ ของกลุ่มฝึกแบบเกมสนามเล็ก และกลุ่มฝึกแบบเฉพาะเจาะจงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0 .05 จากก่อนการฝึกจากการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่าผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจง มีผลต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิค การศึกษาวิจัยครั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไป ประยุกต์ใชใ้ นการฝึกเพื่อเพิ่มสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอลต่อไปthaมหาวิทยาลัยมหิดลสมรรถภาพแอนแอโรบิคนักกีฬาฟุตบอลความคล่องแคล่ววารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาOpen Access articleJournal of Sports Science and Technologyผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจงต่อสมรรถภาพ ด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอลEffects of exercise training between small side game and sport-specific exercise on aerobic and anaerobic fitness in soccer playersArticleสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาแห่งประเทศไทย (สวกท)