จิรพร บุญศรีทอง2024-04-172024-04-172024-02-272017https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/98010การประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 5 หัวข้อ “การบูรณาการสุขภาพผู้สูงอายุในยุค Thailand 4.0” อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, 5 เมษายน 2560 . หน้า 149-168การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้แผนการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน (Rehabilitation Home Program) สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาตครึ่งซีก ต่อการลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแก่ผู้ป่วย ได้แก่ 1)ปวดไหล่และไหล่ติด 2) การพลัดตกหกล้ม 3) แผลกดทับ และกำหนดเป็นแนวทางในการบำบัดรักษาผู้ป่วย โดยศึกษาในผู้ป่วย 2 ราย และญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย 2 ราย โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาตครึ่งซีก มีอาการป่วยในระยะ 0-6 เดือน อายุระหว่าง 20 – 90 ปี ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นคนเดิมตลอดระยะเวลา 3 เดือน โดยผู้ป่วยและญาติจะได้รับแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาตครึ่งซีกในระยะอ่อนปวกเปียก โดยผู้วิจัยติดตามผลทุก 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบฟอร์มสังเกตญาติหรือผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยขณะปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน แบบสัมภาษณ์ผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยต่อแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน แบบประเมิน/บันทึกภาวะแทรกซ้อนระหว่างเข้าร่วมวิจัย และแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน ฯ โดยจะมีการวัดระดับความเจ็บปวด องศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ประเมินแผลกดทับ และการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยในระยะ 3 เดือน มาเปรียบเทียบ และใช้การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นตาราง นอกจากนี้ยังให้ญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยทำแบบประเมินซึ่งเป็นข้อสอบจำนวน 24 ข้อ ก่อน และหลังได้รับแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน ฯ เมื่อครบเดือนที่ 3 และนำผลคะแนนมาเปรียบเทียบก่อน และหลัง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 มีอาการปวดไหล่และไหล่ติด โดยผู้ป่วยมีอาการปวดระดับปานกลางจนถึงปวดมาก (Vas Score 5 – 10) และไหล่ติด ตั้งแต่ช่วงกลางถึงช่วงสุดท้ายขององศาการเคลื่อนไหว โดยในการติดตามผลในเดือนที่ 3 พบว่า ผู้ป่วยรายนี้มีข้อไหล่ติดในทุกท่าของการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ โดยมี ความสอดคล้องกับคะแนนจากแบบสังเกตการฝึกปฏิบัติก่อน –หลัง โดยมีคะแนนที่ได้อยู่ในระดับต่ำถึงต่ำมาก ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 พบว่ามีอาการปวดไหล่ในเดือนที่ 1 และ 2 ที่ระดับปานกลางถึงน้อย(Vas Score 3 – 5) และไม่พบอาการปวดในเดือนที่ 3 ผู้เข้าร่วมวิจัยมีไหล่ติด ในช่วงสุดท้ายของการเคลื่อนไหวในเดือนที่ 1-2 และไม่พบไหล่ติดในเดือนที่ 3 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังได้รับแผนการฟื้นฟู สมรรถภาพที่บ้านฯ พบว่าคะแนนจากแบบสังเกตการฝึกปฏิบัติก่อน –หลังที่ได้อยู่ในระดับดีถึงดีมาก ญาติผู้ป่วยทั้งสองรายที่เข้าร่วมวิจัย หลังได้รับแผนการฟื้นฟู สมรรถภาพที่บ้านฯ มีคะแนนการทำแบบทดสอบเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยทั้งสองรายไม่พบการพลัดตกหกล้ม และแผลกดทับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามแผนการ ฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านฯ สามารถลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาตครึ่งซีกได้application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านโรคหลอดเลือดสมองอัมพาตครึ่งซีกแผลกดทับRehabilitation Home Programข้อไหล่ติดกรณีศึกษาแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอัมพาตครึ่งซีก: ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกCase study research in golden jubilee medical center : effectiveness of rehabilitation home program for hemiplegia.Proceeding Articleมหาวิทยาลัยมหิดล