ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุลเชษฐ รัชดาพรรณาธิกุลจิดาภา ชะเอม2024-01-152024-01-15256125672561วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92748อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2561)การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพแก่ผู้ต้องขังหญิง ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาทักษะวิชาชีพแก่ผู้ต้องขังหญิง และแนวทางในการพัฒนาทักษะวิชาชีพแก่ผู้ต้องขังหญิง ในทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และใช้การสัมภาษณ์ประกอบ โดยศึกษาเก็บข้อมูลจากผู้ต้องขังหญิงที่ต้องโทษ จําคุกตามคําพิพากษาของศาล และคดีถึงที่สุดแล้ว ที่เข้ารับการฝึกวิชาชีพที่อยู่ในทัณฑสถานหญิงกลาง จํานวน 549 คน และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงานหน้าที่ฝ่ายฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้ต้องขังหญิง และวิทยากรจากภายนอกที่เข้ามามีส่วนร่วม ในการฝึกวิชาชีพให้แก่ผู้ต้องขังหญิง ทั้งหมด 6 คน สําหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการประมวลผล และ วิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้สถิติพรรณนา คือ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอ้างอิง คือ การทดสอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพ คือ สถานภาพ สมรส อาชีพก่อนต้องโทษ และต้องโทษในคดี ส่วนตัวแปรอื่นไม่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพ และผลการศึกษา ความสัมพันธ์ของปัจจัยการเรียนการสอนทักษะวิชาชีพส่งผลต่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพ พบว่า ด้านวิทยากร ด้านการเป็นผู้ ส่งเสริมและสนับสนุน ด้านความต้องการในการฝึกวิชาชีพ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ในการฝึกวิชาชีพ ด้านระยะเวลา ในการฝึกวิชาชีพ และด้านการบริหารจัดการ ทุกด้านของปัจจัยการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทักษะ วิชาชีพ ข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งนี้ คือ ทัณฑสถานหญิงกลางควรมีการทําความตกลง (MOU) กับกระทรวง แรงงาน และแรงงานจังหวัดในการประสานข้อมูลด้านความต้องการของตลาดแรงงาน รายชื่อ ผู้ประกอบการ เพื่อเป็น แนวทางในการพัฒนาการฝึกวิชาชีพ ทัณฑสถานหญิงกลางควรจัดหาหน่วยงานภายนอกมาสนับสนุนในการฝึกวิชาชีพมาก ขึ้น ควรเปิดหลักสูตรที่ทันสมัย มีความหลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องขัง ตลาดแรงงาน เพื่อให้ ผู้ต้องขังนําไปประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษได้The objectives of this study were to study the factors affecting the vocational skills of the female prisoners, delineate problems and obstacles, and develop the guideline for improving vocational skills. This research used quantitative and qualitative research. Five hundred and forty-nine female prisoners were selected as the samples to collect data through a questionnaire for the quantitative method. Six female governmental officers who had worked at the Bangkok center prison were selected as the key informants for the in-depth interview. Data were analysed by percentage, standard deviation, variance test and Pearson Correlation analysis method. The research results revealed that personal factors affecting the vocational skills were the marital status and career before jailing or prisoning, and the operational factors affecting the vocational skills were teacher, promoter and supporter, the need for vocational training, material requirement and a place for vocational training, duration of vocational training and management, respectively. Recommendations for this study are to set up the MOU for career skill development with the Ministry of labour and the business sectors, and open the new course for developing the career which benefits the inmates who release to conduct their career continuingly. In addition, it is suggested to conduct a marketing survey to get the labour force need, train the female prisoners and coordinate with the NGOs in any areas to help prisoners get jobs after releasing.ก-ฒ, 272 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการบริหารงานราชทัณฑ์นักโทษหญิง -- การแนะแนวอาชีพแนวทางการพัฒนาทักษะวิชาชีพแก่ผู้ต้องขังหญิง : กรณีศึกษาทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานครThe development of female prisoner's vocational skill : a case study of Central Women Correctional Institution in BangkokMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล