Hattaya DumrongpholBanyat YongyuanWimontip MusikaphanSarinee Uahkittikul2024-02-072024-02-07201120112011Thesis (M.Sc. (Human Development))--Mahidol University, 2011https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94969Human Development (Mahidol University 2011)การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อการลดพฤติกรรม ก้าวร้าวของเด็ก อายุ 9-13 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้ง ละ 1 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 12 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุม ไม่รับกิจกรรมใดๆ เลย ทำการประเมินพฤติกรรมด้วยแบบ วัดพฤติกรรมก้าวร้าว ก่อนการทดลอง และหลังจากสิ้นสุดการทดลองทันที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจง ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Chi-square test, Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความก้าวร้าวเฉลี่ยลดลงกว่าก่อนการ ทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความก้าวร้าวต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) จากผลการวิจัยแสดงว่า การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว สามารถช่วย ลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กในชุมชนแออัดได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก อันได้แก่ ครอบครัว สถานศึกษา และชุมชน สามารถนำโปรแกรมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาและ ปฏิบัติการปรับพฤติกรรมก้าวร้าว สอนให้เด็กเรียนรู้เทคนิคการควบคุมตนเอง พัฒนาความคิด ค่านิยม และ พฤติกรรมที่เหมาะสม อันจะสามารถพัฒนาตนเองสู่การเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าในฐานะเยาวชนและพลเมืองที่ดีของ ประเทศชาติต่อไปviii, 105 leaves : ill.application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าAggressiveness in childrenGroup psychotherapySlums -- ThailandThe effect of group dynamics on aggressive behavior reduction among slum childrenผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อการลดพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กในชุมชนแออัดMaster ThesisMahidol University