พิชญา หาญคุณากรPitchaya Hankunakorn2023-12-042023-12-042566-12-042564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91261ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 190การผ่าตัดส่องกล้องบริเวณกระเพาะปัสสาวะและในโพรงมดลูกจำเป็นต้องใช้สารละลาย 5-20 ลิตร/การผ่าตัดขึ้นอยู่กับหัตการในการเตรียมบริเวณผ่าตัดจะต้องจัดถุงรองรับน้ำขนาดใหญ่ให้สามารถรองรับปริมาณน้ำที่ปล่อยให้ไหลออกมาขณะส่องกล้องผ่าตัดและควรมีระบบการระบายน้ำที่ดี ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ราคาแพง ผ้าปูพร้อมถุงรองน้ำสำเร็จรูปพร้อมรูระบายน้ำออก (1000 บาท/ชิ้น) จึงไม่นิยมนำมาใช้ ในทางปฏิบัติได้ดัดแปลงโดยใช้ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ทำเป็นถุงรอง ระบายน้ำออกจากถุงรองน้าจะใช้สายดูดที่ใช้กับการผ่าตัด (Suction Tube) แต่มักพบปัญหาสายดูดไม่สามารถดูดระบายน้ำออกจากถุงรองน้ำได้ทัน เมื่อผ่านไปสักระยะน้ำในถุงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นและล้นออกมาเปียกแฉะบริเวณพื้นที่ผ่าตัด บางครั้งทำให้ถุงเกิดการถ่วงน้ำหนักและหลุดออกจากบริเวณผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการปนเปื้อน/ติดเชื้อ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสสัมผัสเชื้อโรคหรือเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม อีกทั้งทำให้การตรวจสอบบันทึกปริมาณน้ำเข้าน้ำออก (Intake-Output) จากร่างกายผู้ป่วยคลาดเคลื่อนส่งผลกระทบต่อการประเมินความปลอดภัยของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดได้ จากปัญหาดังกล่าวจึงได้ประดิษฐ์ “Weight Suction Tube” (สายดูดถ่วงน้ำหนัก) ขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าWeight Suction Tubeสายดูดถ่วงน้ำหนักSuction TubeIntake-OutputMahidol Quality Fairสายดูดถ่วงน้ำหนักWeight Suction TubeProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล