พฤหัส ศุภจรรยาราษฎร์ บุญญากานต์ อรรถยุกติศศิธร ทรัพย์วัฒนไพศาลสร้อยทอง หยกสุริยันต์พรพรรณ์ สมบูรณ์Paruhut SuphajanyaRas BoonyaKan ArthayuktiSasithorn SupwattanapaisanSoithong YoksuriyanPornpun Somboonมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดามหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา. ล่ามภาษามือไทย2020-04-132020-04-132563-04-132561วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 14, (ม.ค. - ธ.ค. 2561), 32-45https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/54072งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง "สื่อมัลติมีเดียศัพท์ภาษามือไทยด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก"การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแปลคำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยีสิ่ง อำนวยความสะดวกจากภาษาเขียนเป็นภาษามือไทย และเพื่อพัฒนารูปแบบการเขียนคำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมต่อการแปลเป็นภาษามือไทย วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการสังเกตและวิเคราะห์คำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เป็นภาษาเขียนกับการแปลคำอธิบายศัพท์ดังกล่าวเป็นภาษามือไทยจำนวน 103 คำ ด้วยการปรับสมมติฐานและ รูปแบบของภาษาเขียนจนได้รูปแบบการเขียนคำอธิบายศัพท์ที่เหมาะสมต่อการแปลเป็นภาษามือไทย ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแปลคำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกจากภาษา เขียนเป็นภาษามือไทยคือ 1) คำอธิบายศัพท์ที่เป็นภาษาเขียนมีรูปแบบไม่ชัดเจน 2) คำอธิบายศัพท์ที่เป็นภาษาเขียน มีเนื้อหาไม่ชัด เจน 3) คำอธิบายศัพท์ที่เป็นภาษาเขียนส่งผลให้การแปลเป็นภาษามือไทยไม่เป็นธรรมชาติ เพื่อแก้ปัญหา ดังกล่าว ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการเขียนคำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมต่อการแปล เป็นภาษามือไทย 5 รูปแบบคือ รูปแบบพื้นฐาน (RS) รูปแบบซ้ำ 1 (RS1) รูปแบบซ้ำ 2 (RS2) รูปแบบซ้ำ 4 (RS4) และ รูปแบบผสม (RS Mix) ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนคำอธิบายศัพท์ในรายวิชา อื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกันThe purpose of this qualitative research was to study the problems arising from the translation of assistive technology terminologies’ definition from written language to Thai sign language and to develop the definition of assistive technology terminology suitable for the translation to Thai sign language. Method included the observation and the analysis of 103 assistive technology terminologies definition in written language and the translation to Thai sign language, revised written patterns and revised sign language in order to make written language of assistive technology terminologies definition suitable for Thai sign language translation. The results showed that the problems of translation from written language of assistive technology terminologies definition to Thai sign language were 1) the definition of written language had no exact pattern 2) the definition of written language had unclear content 3) the definition of written language resulted in unnatural sign language. To solve such problems, researchers had developed 5 patterns of definition which were suitable for translation to Thai sign language, consisting of 1) basic pattern (RS) 2) repeat 1 pattern (RS1) 3) repeat 2 pattern (RS2) 4) repeat 4 pattern (RS4) and 5) mixed pattern (RS Mix). The report’s findings will be useful for applications in written definition on other subjectsthaมหาวิทยาลัยมหิดลรูปแบบการเขียนคำอธิบายศัพท์การแปลภาษามือไทยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกpattern of definitionThai sign language translationassistive technologyวารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการJournal of Ratchasuda College, Research and Development of Persons With Disabilitiesรูปแบบการเขียนคำอธิบายศัพท์ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่เหมาะสมต่อการแปลเป็นภาษามือไทยPattern of the Definition Suitable for the Translation to Thai Sign Language: the Case of Assistive Technology TerminologyArticleวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล