สุมาลี ดีจงกิจเจียมใจ จีระอัมพรปาริชาต คุณาธรรมรักษ์พรจิต จิตรถเวชจุฑามาศ หันยอSumalee DechongkitJeamjai JeeraumpornParichat KunadhamraksPonjit JithavechJutamas Hunyorมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมายโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ2022-09-122022-09-122565-09-122561รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 41, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2561), 74-810125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79504บทนำ: เจตคติของผู้ปกครองส่งผลกระทบที่สำคัญต่อพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และจิตใจของเด็กพิการ ผู้ปกครองที่มีเจตคติเชิงลบต่อเด็กหูพิการอาจส่งผลต่อการเลี้ยงดูเด็กได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเจตคติของผู้ปกครองต่อเด็กประสาทหูพิการโดยใช้แบบทดสอบเจตคติฉบับภาษาไทย ประกอบด้วยข้อย่อย จำนวน 30 ข้อ คะแนนรวม 180 คะแนน โดยผลคะแนนรวมสูงบ่งบอกถึงเจตคติที่ดี วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 47 คน เข้าร่วมตอบแบบสอบถามโดยสมัครใจ ในจำนวนนี้มีแบบสอบถามที่มีข้อมูลครบและสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ จำนวน 42 คน ผลการศึกษา: ผู้ปกครองมีคะแนนรวมด้านเจตคติตั้งแต่ 54 - 118 คะแนน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 89.38 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 16.46 คะแนน และพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติของผู้ปกครองและคุณลักษณะทั้ง 5 ด้านของผู้ปกครองคือ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ระดับความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเด็ก และความรู้เกี่ยวกับหูพิการ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุเชิงเส้นตรงพบว่า สามารถใช้ปัจจัยทั้ง 5 ร่วมกันเพื่ออธิบายการผันแปรของเจตคติของผู้ปกครองได้ร้อยละ 35 โดยระดับการศึกษาของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับเจตคติของผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: เจตคติของผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 89.38 คะแนน เมื่อพิจารณาคุณลักษณะทั้ง 5 ด้านของผู้ปกครองพบว่า ระดับการศึกษาของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อเจตคติของผู้ปกครองBackground: The attitudes of guardians have a significant impact on the social, emotional, and psychological development of children with disabilities. Guardians’ negative attitudes toward children with hearing impairments may affect the ways of nurturing their children. Objective: To determine the attitudes of guardians toward their children with hearing impairments. The guardians’ attitudes were determined by using a Thai language questionnaire regarding their attitudes towards people with disabilities, which was composed of 30 items with a total score of 180. Higher scores reflected more positive attitudes. Methods: The questionnaires were distributed to 47 guardians. Forty-two questionnaires were completed for analysis. Results: The attitude scores ranged from 54 to 118 with a mean of 89.38 and a standard deviation of 16.46. There was a relationship between their attitudes and a set of 5 characteristics of guardians which were age, educational level, income, degree of contact, and knowledge about hearing loss by using multiple regressions. Thirty-five percent of the variance of guardian attitudes was accounted for by a linear combination of the five guardian characteristic variables. The educational level of guardians was found to have a positive relationship with attitudes of guardians. Conclusions: The mean score of guardian attitudes was 89.38. Among the 5 guardian characteristic variables, the education level was positively correlated to guardian attitudes.thaมหาวิทยาลัยมหิดลเจตคติความบกพร่องทางการได้ยินผู้ปกครองAttitudeHearing impairmentsGuardianเจตคติของผู้ปกครองต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินGuardians’ Attitudes Toward Children With Hearing ImpairmentsOriginal Articleภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ