วรัญญา แสงเพ็ชรส่องธวัชชัย วรพงศธรสุเนตร แสงม่วงกานดา วัฒโนภาสประจวบ สังฆสุวรรณมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ.2016-02-242021-09-152016-02-242021-09-152559-02-112534https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63548เอกสารประกอบการประชุม การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 5 คุณภาพชีวิตไทยที่พึงปรารถนา: แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน, วันที่ 18-20 ธันวาคม 2534 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. หน้า 255.โรคคอตีบมีแนวโน้มเกิดกับเด็กโตมีแนวโน้มเกิดกับเด็กโต การศึกษาภาวะทางอิมมูนจะเป็นแนวทางหนึ่งเข้าสู่การควบคุม การสำรวจภูมิคุ้มกันต่อคอตีบ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท จึงเป็นเป้าหมายการศึกษาครั้งนี้ในเด็กนักเรียน 525 ราย ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2530 ถึง กุมภาพันธ์ 2531 จาก 31โรงเรียน ใน 7 ตำบล เก็บข้อมูลพื้นฐานประวัติการได้รับวัคซีนและทำการเจาะเลือดจากปลายนิ้วทุกราย พบว่า เด็กนักเรียนทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยของภูมิคุ้มกันต้านพิษและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.94+3.94 หน่วย/มล.มีอัตราการเสี่ยงต่อโรคคอตีบ ร้อยละ 25.9 (136/525) การเสี่ยงต่อโรคมีความสัมพันธ์กับประวัติการได้รับวัคซีนดีทีพี และตำบลที่ตั้งของโรงเรียนด้วย แต่ไม่มีความสัพพันธ์กับเพศ ค่าเฉลี่ยของภูมิต้นพิษแตกต่างกันไปตามประวัติการได้รับวัคซีน และตำบลที่ตั้งของโรงเรียน แต่ไม่แตกต่างกันระหว่างเพศ กลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบรวมทั้งเข็มกระตุ้น จะมีภูมิต้านพิษสูงสุด ต่ำสุด คือ กลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนเลยthaมหาวิทยาลัยมหิดลคอตีบในเด็กจังหวัดชัยนาทภูมิคุ้มกันภูมิคุ้มกันคอตีบในเด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาทProceeding Abstract