อุษา สินสวัสดิ์Usa Sinsawatมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะทันตแพทยศาสตร์. โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร2022-09-302022-09-302565-09-302564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79782ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 138จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธรเปิดให้บริการโดยกรณีหัตถการที่ต้องมีการกรอแต่งชิ้นงานทันตกรรมนอกช่องปาก ซึ่งก่อนการระบาดของโรค COVID-19 ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันขณะกรอชิ้นงานอะคริลิกต่าง ๆ แต่เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่กระจายของโรค COVID-19 บุคลากรในคลินิกทันตกรรมพิเศษได้พัฒนานวัตกรรม “กล่องกัก COVID-19” มาใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จำนวน 1 กล่อง และนำไปให้ทันตแพทย์จัดฟันทดลองใช้งาน จากการสอบถามทันตแพทย์หลังการใช้งานพบว่าสามารถใช้งานได้ และมีข้อแนะนำเพิ่มเติมหลังการใช้งาน ทางคลินิกจึงใช้ข้อมูลดังกล่าวมาปรับปรุงกล่องกรออะคริลิกให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและจำนวนเพียงพอในการปฏิบัติงาน โดยเน้นความปลอดภัยของบุคลากร ผู้ป่วย ผลิตได้ง่าย ทนทาน ใช้งานสะดวก ราคาไม่แพง ซึ่งได้พัฒนาปรับปรุง “กล่องกรออะคริลิก COVID-19” เพิ่มเติมทั้งหมด 4 แบบ รวมจำนวน 22 เพื่อใช้ในคลินิกต่าง ๆ ของโรงพยาบาลทันตกรรรมมหาจักรีสิรินธร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ความพึงพอใจการใช้งาน ของทันตแพทย์ อยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” สามารถลดค่าใช้จ่ายการจัดซื้อกล่องสำเร็จรูปได้ 19,800 บาท และลดความฟุ้งกระจายของฝุ่นกรออะคริลิกตามพื้นผิวในยูนิตทันตกรรม และมีทันตแพทย์สั่งผลิตกล่องกรออะคริลิก COVID-19 เพื่อนำไปใช้งานคลินิกภายนอกโรงพยาบาล จำนวน 7 กล่องthaมหาวิทยาลัยมหิดลCOVID-19อะคริลิกทันตกรรมMahidol Quality Fairพัฒนาต่อยอด “กล่องกรออะคริลิก COVID-19”Proceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล