อาดัม นีละไพจิตรพิมพา ขจรธรรมชูกลิ่น ผ่องแผ้ว2024-01-152024-01-15255925672559วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92783วิทยาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2559)การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองของนักศึกษาพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ในสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย เปรียบเทียบความต้องการกับปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ ความเพียงพอของค่าใช้จ่ายต่อเดือนและลักษณะความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ในสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย รวบรวมได้ จำนวน 189 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Nonparamtric โดยวิธี Mann-Whitney U และ Kruskal-Wallis ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ในสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน ส่วนใหญ่ มีความต้องการ ด้านจิตใจ รองลงมา คือ ความต้องการ ด้านสังคม และอันดับสุดท้ายคือ มีความต้องการ ด้านร่างกาย ในด้านจิตใจ ส่วนใหญ่ มีความต้องการ ด้านเจตคติต่อคนพิการ เกี่ยวกับ มีความต้องการให้ บุคลากรเจ้าหน้าที่เข้าใจนักศึกษาพิการ มากที่สุด ซึ่งยังไม่ได้รับบริการตอบสนอง คิดเป็น ร้อยละ 70.3 ในด้านสังคม ส่วนใหญ่ มีความต้องการ ด้านระบบการจัดการและนโยบายการศึกษาเพื่อคนพิการ เกี่ยวกับ การสนับสนุนเรื่องการศึกษา มากที่สุด ซึ่งยังไม่ได้รับบริการตอบสนอง คิดเป็น ร้อยละ 41.0 ในด้านร่างกาย ส่วนใหญ่ มีความต้องการ ด้านสถาปัตยกรรมที่เอื้อต่อคนพิการหรือคนทุกกลุ่มในสถานศึกษา เกี่ยวกับทางลาด มากที่สุด ซึ่งยังไม่ได้รับบริการตอบสนอง คิดเป็น ร้อยละ 43.0 และ พบว่า เมื่อเปรียบเทียบความต้องการ กับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ความเพียงพอของค่าใช้จ่ายต่อเดือน และลักษณะความพิการ ต่างกัน ในภาพรวมและรายด้าน มีความต้องการไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติThe purpose of this survey research was to study the needs and the unmet needs of students with physical disabilities in higher educational institutions in Thailand, and to compare the needs with personal factors such as gender, age, monthly income/expenses and the type of physical disability. One hundred and eighty- nine (189) students with physical disabilities selected through stratified random sampling made up the sample populaion of the study. Data were collected by questionnaires and analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation.The hypothesis was nonparametric statistic by Mann-Whitney U, and Kruskal-Wallis. The results found that students with physical disabilities in the higher educational institutions in Thailand were classified based on psychological needs, social needs and physical needs. Most of the students with physical disabilities expected the staff to have appropriate attitude towards persons with disabilities, this was considered an unmet need with 70.3 percent. The social needs, management educational policy for needs, most of the participants considered this as belonging the group of unmet needs (41.0 percent). The physical needs and the universal design of ramps in the higer educational institutions fell under unmet needs with 43.0 percent and it was found that there was no significant difference when needs were compared with personal factors such as gender, age, monthly income/expenses and the type of physical disability both as whole/ overall and individual aspects.ก-ฏ, 206 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้านักศึกษาพิการทางกาย -- ความพึงพอใจคนพิการทางการเคลื่อนไหว -- ภาวะอารมณ์คนพิการทางการเคลื่อนไหว -- การบริการความต้องการและความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองของนักศึกษาพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยNeeds and unmet needs of students with physical disabilities in higher educational institutions in ThailandMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล