นีธรา มีจันทร์อุรศรี อิ่มสมบูรณ์จิตติมา มโนนัย บาร์ทเล็ทท์กฤชชัย อนรรฆมณีNeethara MeejunUrasri ImsomboonJittima Manonai BartlettKritchai Anakamanee2025-05-162025-05-162568-05-162565วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 9, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2565), 51-652392-5515https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/110157การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของบุคลากรสุขภาพต่อการเกิดการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ปัจจุบันปัญหาการพลัดตกหกล้มยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญและพบได้บ่อยเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ ถึงแม้หน่วยงานจะมีมาตรการและแนวปฏิบัติในการป้องกันแต่ยังคงพบอุบัติการณ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอันตรายชั่วคราวหรือถาวร ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายสูงขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลจำนวน 10 คน ซึ่งเคยมีประสบการณ์อยู่ในเหตุการณ์การเกิดการพลัดตกหกล้มในหอผู้ป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลวิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยายและข้อมูลจากการสัมภาษณ์ได้นำมาจัดแยกเข้าหมวดหมู่โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ผลการวิจัยพบว่า แก่นสาระหรือ Theme ของมุมมองของบุคลากรสุขภาพต่ออุบัติการณ์การเกิดพลัดตกหกล้มแบ่งเป็น 2 เรื่อง ได้แก่ Theme "ปัจจัยที่ทำให้เกิดการพลัดตกหกล้ม" ซึ่งมี subtheme ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้ป่วย ปัจจัยด้านผู้ดูแล ปัจจัยด้านอุปกรณ์การแพทย์ ปัจจัยด้านกายภาพและสิ่งกีดขวาง และ Theme "มาตรการของโรงพยาบาลที่ทำให้ดีขึ้นกว่านี้ได้" ซึ่งมี subtheme ได้แก่ มาตรการที่ใช้ในปัจจุบัน มาตรการในอนาคตและข้อเสนอแนะThe study aimed to understand healthcare professionals’ viewpoints regarding falls among patients admitted to a tertiary hospital. Nowadays, falls remain a fundamental and common problem among hospitalized patients, especially older adults. Although hospital fall prevention policies were applied, incidences continued to occur, resulting in temporary or permanent injury, an extended length of hospital stay, and more significant expenses. This research is a qualitative research using in-depth interview. Ten respondents who had experience in the ward were enrolled. The analysis of personal data was analyzed using descriptive statistics, and qualitative data were classified using thematic analysis. The results revealed that the healthcare personnel's perspective on inpatient falls was divided into two themes. The first was "Factors causing Falls" theme with four subthemes: patient, caregiver, medical devices, and environmental factors. The second theme was "Improved hospital measures" with two subthemes: inefficient current and future protocols with recommendations.15 หน้าapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้ามุมมองบุคลากรสุขภาพการพลัดตกหกล้มPerspectivehealth care personnelfallมุมมองของบุคลากรสุขภาพต่อการเกิดพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การศึกษาเชิงคุณภาพ ณ อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดีPerspectives of Health Care Personnel on Inpatient Falls: A qualitative Study in Theppharat Building: Ramathibodi HospitalResearch Articleสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลhttps://doi.org/10.14456/jmu.2022.25