เดือนเพ็ญ กลกิจมะลิวรรณ์ ตาเสาร์กรรณิการ์ คำเตียมนิภาพร พวงมีสมปอง พัดบำเรอพิปุณณิชชาภรณ์ แย้มโอษฐ์มพ์ปาริฉัตร จันทร์สนมนิษา แสงทองมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2021-09-082021-09-082564-09-082561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63462ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 214การเข้าถึงและการเข้ารับบริการเป็นเกณฑ์การประเมินมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพในกลุ่มผู้มารับบริการเพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้ง่าย กระบวนการรับผู้ป่วยเหมาะสมกับปัญหา/ความต้องการของผู้ป่วย ทันเวลา มีการประสานงานที่ดีภายใต้ระบบและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ หน่วยตรวจโรคจักษุมีผู้รับบริการประมาณ 500 รายต่อวัน มีขั้นตอนการเข้ารับบริการตั้งแต่ลงทะเบียน เข้ารับการรักษาและการจำหน่ายพบว่าแต่ละกระบวนการยังมีความซับซ้อน ผู้รับบริการไปยังจุดบริการไม่ถูก ไม่ทราบคิวเวลาตรวจ ไม่ทราบขั้นตอนการรับบริการ ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุการมองเห็นและการได้ยินไม่ชัดเจน การสื่อสารด้วยตัวอักษรทำให้ผู้ป่วยเข้าใจยาก ส่วนบุคลากรมีภาระงานหลายอย่างทำให้จุดบริการต่างๆ มีบุคลากรมีไม่เพียงพอบางช่วงเวลา และมีการทำงานซ้ำซ้อนทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ผู้รับบริการไม่พึงพอใจเกิดข้อร้องเรียนบ่อยครั้งทั้งด้านระยะเวลาการรอคอย การให้ข้อมูลการรักษา และ พฤติกรรมเนื่องจากการตอบข้อซักถามซ้ำหน่วยตรวจโรคจักษุเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงมีการดำเนินการเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงบริการต่างๆที่เหมาะสม ลดอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการ ระยะเวลาการรอคอยเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการ และขจัดขั้นตอนต่างๆที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าออกไปโดยมีการพัฒนาระบบบริการในแต่ละจุดบริการ จากการปรับขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน การใช้Visual management การสร้างอุปกรณ์ช่วยสื่อสาร ส่งผลให้การบริการที่มีคุณภาพ ลดระยะเวลา ลดความเสี่ยงต่างๆ ทำให้ผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงานพึงพอใจในบริการthaมหาวิทยาลัยมหิดลVisual managementColor picture codeจักษุหน่วยตรวจโรคจักษุนวัตกรรม Color Picture Code พัฒนาระบบบริการตรวจโรคจักษุProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล