ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์ทรงศักดิ์ ปัทมรุจ2024-02-052024-02-05254925492549วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ดนตรี))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 25499740473601https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/94411ดนตรี (มหาวิทยาลัยมหิดล 2549)การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียน การสอนของอาจารย์ผู้สอนวิชาดนตรีในระดับอุดมศึกษา เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการใช้ คอมพิวเตอร์ของอาจารย์ผู้สอนตามความแตกต่างตามตัวแปร อายุและประสบการณ์การสอน ประชากรตัวอย่างเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาดนตรีในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนวิชาดนตรีเป็น วิชาเอกจากทุกสังกัด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 301 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อย ละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนวิชาดนตรีใน ระดับอุดมศึกษา ส่วนใหญ่ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นอุปกรณ์การติดต่อสื่อสารและค้นคว้า ข้อมูล ใช้ในการบริหาร เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และใช้จัดการสอนตามลำดับ 2. ปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนในด้านบุคลากร ด้าน คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รวมทั้งด้านซอฟต์แวร์ มีปัญหาเฉลี่ยในระดับปานกลาง 3. สภาพการใช้คอมพิวเตอร์ของอาจารย์ผู้สอนเปรียบเทียบตามความแตกต่างของตัวแปร อายุและประสบการณ์การสอนพบว่า ส่วนใหญ่มีสภาพการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนใน ลักษณะใกล้เคียงกัน ตัวแปรทั้งสองดังกล่าวมิได้ส่งผลต่อภาพรวมของสภาพการใช้คอมพิวเตอร์ของ อาจารย์ผู้สอนวิชาดนตรีในระดับอุดมศึกษามากนัก 4. การเปรียบเทียบปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ของอาจารย์ผู้สอนตามความแตกต่างของตัว แปร อายุและประสบการณ์พบว่าระดับปัญหาโดยเฉลี่ยปานกลางทั้งสองตัวแปรThis research was to investigate situations and problems of using computers for instructing music at the higher education level; to compare situations and problems of instructors, of different ages and experience, with using computers. The sample was 301 music instructors teaching music as a major subject in every affiliated office during the 2nd semester, academic year of 2005. A questionnaire was used for data collection and the statistics used were percentage, mean and standard deviation. It was found that: 1. Most situations of using computers for instructing music at the higher education level were: using it in communication: exploring information; management; teaching aids; and organizing lecturing. 2. Moderate problems of using computers for instructing music at the higher education level were about peopleware, hardware and software. 3. Most instructors used computers mainly for lecturing. The variables of age and experience surprisingly had no effect on the usage of computers. 4. Moderate problems were found in using computers among the instructors of different variables of the age and experience.ก-ญ, 122 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนดนตรี -- การสอนดนตรี -- อาจารย์ระบบการเรียนการสอนการศึกษาสภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนวิชาดนตรี ในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยA study of situations and provlems on computer usage of music instructors in higher education of ThailandMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล