โสภาพรรณ พวงบุญมีพรศรี ดิสรเตติวัฒน์สมมาตร บำรุงพืชนิตยา โรจนนิรันดร์กิจSophaphan PloungbunmeePornsri DisorntatiwatSommart BumrungphuetNitaya Rotjananirankitมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ฝ่ายการพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา2022-07-272022-07-272565-07-272562รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 42, ฉบับที่ 3 (ก.ค.-ก.ย. 2562), 12-230125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72261บทนำ: อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะของสตรีคลอดทางช่องคลอดโรงพยาบาลรามาธิบดีสูงกว่าเป้าหมาย ทีมสูติแพทย์ได้พัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลและอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บของสตรีคลอดทางช่องคลอดก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีคลอดทางช่องคลอดก่อนใช้แนวปฏิบัติจำนวน 983 คน หลังใช้แนวปฏิบัติจำนวน 914 คน เก็บข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะและการติดเชื้อแผลฝีเย็บทั้งก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-square test ผลการศึกษา: อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะมีความสัมพันธ์ต่อการใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < .01) โดยลดลงจากร้อยละ 25.43 เป็นร้อยละ 9.85 อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.40 เป็นร้อยละ 34.44 และอัตราการติดเชื้อแผลฝีเย็บก่อนและหลังใช้แนวทางปฏิบัติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = .96) โดยไม่พบการติดเชื้อแผลฝีเย็บทั้ง 2 กลุ่ม สรุป: แนวปฏิบัติทางคลินิกในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะในสตรีหลังคลอดโดยไม่มีการติดเชื้อแผลฝีเย็บ และมีการใช้ยาปฏิชีวนะสมเหตุผลเพิ่มขึ้นBackground: The rate of antibiotic use of vaginal delivery women in Ramathibodi Hospital is higher than expected standard criteria. The obstetrician team has developed clinical practice guidelines for rational drug use in antibiotic prophylaxis in vaginal delivery women. Objectives: To examine the relationships among the percentage of using antibiotic prophylaxis, the prevalence of rational drug use and the prevalence of the episiotomy wound infection rate in vaginal delivery women before and after using the clinical practice guidelines for antibiotic prophylaxis. Methods: The sample consisted of 983 vaginal delivery women who did not in the practice guidelines and 914 joined in practice guidelines groups. The rate of antibiotic use and episiotomy wound infection were collected before and after using the clinical practice guidelines for antibiotic prophylaxis. Data were analyzed by chi-square statistics. Results: The rate of antibiotic use in vaginal delivery women is significantly related to the use of the practice guidelines (P < .01), which is reduced from 25.43% to 9.85%. The prevalence of rational drug use increased from 12.40% to 34.44%. The prevalence of episiotomy wound infection of women vaginal birth before and after using the practice guidelines was not significantly different (P = .96). There was no episiotomy wound infection in both groups. Conclusions: The clinical practice guidelines reduces antibiotic use in postpartum women without episiotomy wound infection and promotes rational drug use.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการใช้ยาอย่างสมเหตุผลยาปฏิชีวนะคลอดทางช่องคลอดRational drug useAntibioticVaginal deliveryผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้ยาปฏิชีวนะในสตรีคลอดทางช่องคลอดในโรงพยาบาลรามาธิบดีClinical Outcomes of Antibiotic Prophylaxis in Vaginal Delivery Women at Ramathibodi Hospital Article SidebarOriginal Articleฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล