สุลี ทองวิเชียรพิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข.2016-02-242021-09-152016-02-242021-09-152559-02-102534https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63556เอกสารประกอบการประชุม การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 5 คุณภาพชีวิตไทยที่พึงปรารถนา: แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน, วันที่ 18-20 ธันวาคม 2534 ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. หน้า 238.การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับระดับการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ตังอย่างประชากรได้จากผู้สูงอายุจำนวน 1077 คน ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 ศูนย์ ซึ่งได้รับการคัดเลือกด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช่เป็นแบบประเมินการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่สร่างขึ้นตามแนว คือ เกี่ยวกับการดูแลตนเองโดยทั่วไปของโอเร็ม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .81 วิเคราะห์ข้อมูลระดับการดูแลตนเองโดยใช้ค่า Quatile หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับระดับการดูแลตนเองโดยใช่ Chi – square และ หาค่า strengthen ของความสัมพันธ์โดย Craner’ s V ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการดูแลตนเองในระดับปานกลางค่อนข้างดี พัฒนาการทางด้านร่างกายผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขาดการออกกำลังกาย มีปัญหาเรื่อง สายตา หู เหงือกและฟัน ผู้สูงอายุประมาน 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุทั้งหมด ไม่สามารถช่วยตนเองได้ดี ผู้สูงอายุเกือบครึ่งหนึ่งเป็นหม้ายหรือแยกกันอยู่กับคู่สมรส แต่สาวนใหญ่ยังอาศัยอยู่กับบุตรหลาน และญาติสนิท มีส่วนร่วมกิจกรรมครอบครัว ช่วยทำงานบ้าน เลี้ยงหลานและทำอาหาร ผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 48 มีโรคประจำตัว โรคที่พบมากที่สุดคือ โรคหัวใจ และหลอดเลือด สำหรับบทบาททางสังคม ผู้สูงอายุส่วนน้อย ที่มีบทบทบาททางสังคมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ความรู้สึกเกี่ยวกับตนเองและความรู้สึกมั่นคงในชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ผู้สูงอายุเกือบทั้งหมดยึดมั่นในหลักศาสนา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู่สูงอายุ ได้แก่ ระดับ อายุ เพศ สถานภาพทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา ลักษณะการอยู่อาศัย สถานที่พักอาศัย และอัตมโนทัศน์ของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยนี้ได้มีข้อเสนอแก่รัฐในการจัดการประกันสังคมแก่ผู้สูงอายุ การสนับสนุนการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ การส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีที่เชิดชูคุณค่าและให้เกียรติแก่ผู้สูงอายุ ให้โอกาศได้ใช่ประสบการณ์ที่มีคุณค่าและผลงานในการร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในด้านการบริการสุขภาพเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ดี ควรมีพยาบาลสาธารณสุขให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง และควรได้มีการพัฒนาเครื่องมือมาตราฐานเพื่อใช้ในการคัดกรองและจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุ ตามระดับความต้องการการดูแลต่อไปthaมหาวิทยาลัยมหิดลการดูแลตนเองกรุงเทพมหานครผู้สูงอายุการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครProceeding Abstract