โยธิน แสวงดีธีรนุช ก้อนแก้ว2024-01-252024-01-25255025672550วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/93924วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2550)การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและค้นหาอิทธิพลของเงินส่งกลับที่มีผลต่อการศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากข้อมูลการสำรวจของโครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อประชากรในอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ รอบที่ 1 (พ.ศ. 2527) รอบที่ 2 (พ.ศ. 2537) และรอบที่ 3 (พ.ศ. 2543) ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์ประชากรแคโรไลนา มหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ณ ชาเปลฮิลล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่เกิดในปีพ.ศ. 2527 โดยติดตามเด็กกลุ่มนี้ เพื่อศึกษาว่า เด็กกลุ่มนี้ได้รับการศึกษาต่อในระดับชั้นดังกล่าวหรือไม่ ใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis) เป็นสมการทำนาย ผลการตรวจสอบ พบว่า จำนวนเงินส่งกลับที่ต่ำกว่า 20,000 บาท ไม่มีผลต่อโอกาสในการศึกษาต่อในระดับ ชั้นข้างต้น แต่เมื่อจำนวนเงินส่งกลับสูงกว่า 20,000 บาท จะมีผลในทางบวกต่อโอกาสในการศึกษาต่อ นอกจากนี้ใช้สถิติ Adjusted Proportional Probabilities ร่วมในการตรวจสอบ พบว่า จำนวนเงินส่งกลับที่เพิ่มขึ้นมีผลในทางบวกต่อโอกาสในการศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่าเป็นผลสะท้อนจากการได้รับเงินส่งกลับ ที่จะมีผลต่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กนั้นเองนั่นแสดงว่า จำนวนเงินส่งกลับมีผลในทางบวกต่อการศึกษาต่อของเด็กในวัยเรียน ดังนั้นสมาชิกในครัวเรือนถิ่นต้นทางจึงควรให้ความสำคัญกับการบริหารเงินที่ได้รับจากผู้ย้ายถิ่น เพื่อสมาชิกในครัวเรือนจะได้มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไป อีกทั้งควรส่งเสริมให้ผู้ย้ายถิ่นส่งเงินกลับบ้านเพิ่มขึ้นเพราะ การที่ได้รับเงินส่งกลับน้อย สมาชิกในครัวเรือนวัยเรียนมีโอกาสต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนแรงงานที่มีความขาดแคลนในครัวเรือน เนื่องจากการย้ายถิ่นThis study aims at examining and exploring remittance's influence on educational continuance to Matthayom 4. Data in the study is from the Project on Social Change and Migration in Thailand : Case Study of Nang Rong District, Buriram Province that was collected in Round 1 (1984), Round 2 (1994) and Round 3 (2000) by the Institute for Population and Social Research, Mahidol University in collaboration with the Carolina Population Center, University of North Carolina at Chapel Hill, USA. The sample group in this study is children who were born in 1984. They were continually followed up on to find out the opportunity to be educated in Matthayom 4. Through the application of logistic regression, remittance of under 20,000 Baht was not found to have an influence on educational continuance. On the other hand, remittance of over 20,000 baht posed an influence on continuance. The researcher also used an adjusted proportional probability and found a higher amount of remittance yielded positive effects on education. A small amount of remittance could lead to an increasing number of young family members entering the labor market replacing family members who migrated out. As a high remittance implied more chances of children being educated, family members at places of origin, therefore, should put more importance on remittance management so that young members can continue their education to a higher level. In the meantime, out-migrants also should be encouraged to send more remittance.ก-ญ, 100 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการศึกษาการศึกษาขั้นมัธยมเงินส่งกลับนักเรียน -- การศึกษาต่ออิทธิพลของเงินส่งกลับต่อการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 : กรณีศึกษาอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์Influences of remittance on educational continuance to matthayom 4 : a case study of Nang Rong District, Buriram ProvinceMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล