เพลินตา โชติวิทยาเพ็ญประภา จันนอกฤทัยทิพย์ ศรเมฆมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2021-09-302021-09-302564-09-302561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63770ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 279การติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่อง 24 หรือ 48 ชั่วโมง (Holter Monitoring) ต้องใช้พลาสเตอร์ (Micropore) ปิดทับหัวกระดุมของขั้วไฟฟ้าหัวใจ (Electrode) เพื่อป้องกันไม่ให้สายหลุดจาก Electrode ที่ปิดไว้บริเวณหน้าอกและใต้ชายโครงผู้ป่วย หลังจากผู้ป่วยมาถอดเครื่อง พบคราบเหนียวของพลาสเตอร์ติดสาย Lead แน่น เช็ดทำความสะอาดยาก ทำให้สายไฟข้างในขาด การซ่อมต้องนำทั้งตัวเครื่องและสาย Lead ไปที่งานอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อตรวจเช็คให้แน่ใจว่ามีการชำรุดที่ตัวเครื่องหรือสาย Lead ระยะเวลาในการส่งซ่อมนานประมาณ 4-6 เดือน จึงใช้ Vasaline ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารหล่อลื่น ให้ความชุ่มชื้น สามารถเคลือบผิวเป็นฟิลม์บางๆ เพื่อลดคราบรอยเปื้อนบนวัสดุ นำมาทาเคลือบบริเวณกระดุมแล้วติดพลาสเตอร์ พบว่า ไม่มีคราบเหนียวติดสาย Lead ทำความสะอาดง่าย จึงลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสาย Lead ทดแทน ลดระยะเวลาในการทำความสะอาดสาย Lead เพิ่มความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน สิ่งสำคัญยิ่งคือ คิวตรวจไม่ยาว ผู้ป่วยปลอดภัยเนื่องจากได้รับการตรวจในช่วงที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะthaมหาวิทยาลัยมหิดลสาย leadHolterเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจสายสะอาดสะดวกสบาย สายสะอาดProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล