สาสินี เทพสุวรรณ์ณัฐจีรา ทองเจริญชูพงศ์รศรินทร์ เกรย์มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม2014-08-262017-10-252014-08-262017-10-252557-08-262555-09วารสารประชากร. ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 (2555), 73-92.https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2951วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียดและความสุขของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นคนในครอบครัว (Family Caregivers) โดยศึกษาจากปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ดูแล (Personal Characteristics) ปัจจัยสาเหตุของความเครียด (Stressors) ปัจจัยแรงสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม (Family and Social support) และปัจจัยการจัดการกับความเครียด (Coping Strategies) จากข้อมูลของผู้ดูแลที่เป็นคนในครอบครัวจำนวน 284 คนในจังหวัดกาญจนบุรี ปี พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีความสัมพันธ์เป็นบุตร จากการวิเคราะห์ผลโดยวิธีวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า การดูแลผู้สูงอายุเป็นเวลานานจะส่งผลให้ผู้ดูแลมีความสุขเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการปรับจิตใจรับในบทบาทของผู้ดูแล นอกจากนี้ บรรทัดฐานของความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดาอาจช่วยให้ผู้ดูแลเกิดการยอมรับภาระที่เกิดขึ้นจากการดูแลได้ การมีผู้ช่วยดูแลส่งผลให้ความเครียดลดลงและมีความสุขเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัวและสังคมที่ส่งผลให้ความเครียดลดลงและมีความสุขเพิ่มขึ้น ในส่วนของการจัดการกับความเครียด พบว่า การจัดการกับความเครียดโดยมุ่งอารมณ์ เช่น การระบายอารมณ์ ยิ่งทำให้สถานการณ์สุขภาพจิตแย่ลงthaมหาวิทยาลัยมหิดลผู้ดูแลในครอบครัวความสุขความทุกข์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและความสุขในการดูแลผู้สูงอายุDeterminants of stress and happiness among family caregivers to older personsArticle