ปรียนันท์ ศิระประภาภัสส์กชปิญชร จันทร์สิงห์เจษฎา บัวบุญนำPreeyanun SiraprapapatKochpinchon ChansingJassada Buaboonnam2025-05-012025-05-012568-05-012565วารสาร Mahidol R2R e-Journal. ปีที่ 9, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2565), 15-222392-5515https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109879ห้องปฏิบัติการสาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยีได้ให้บริการตรวจวิเคราะห์ Thiopurine S-methyltransferase (TPMT) variants ด้วยเทคนิค PCR-RFLP (Polymerase Chain Reaction-Restriction Fragment Length Polymorphism) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีความผิดปกติของ TPMT variants เกิดขึ้น 4.27% ซึ่งในการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้จะใช้เวลาค่อนข้างนานต่อการวิเคราะห์ครั้งหนึ่ง รวมทั้งต้องใช้น้ำยา-สารเคมีหลายชนิด ดังนั้น ห้องปฏิบัติการฯ จึงได้พัฒนาการตรวจวิเคราะห์ TPMT variants 4 ชนิด ได้แก่ *2 (238G>C), *3A (460G>A, 719A>G), *3B (460G>A) และ *3C (719A>G) ด้วยเทคนิค multiplex Amplification Refractory Mutation System-Polymerase Chain Reaction (ARMS-PCR) เพื่อลดระยะเวลาและลดต้นทุนในการตรวจวิเคราะห์ โดยการสุ่มตัวอย่างของผู้ป่วยที่มีการส่งตรวจวิเคราะห์ TPMT variants ด้วยเทคนิค PCR-RFLP จำนวน 150 ราย จากตัวอย่างทั้งหมด 749 ราย นำมาตรวจหา TPMT polymorphism ด้วยเทคนิค multiplex ARMS-PCR พบว่าทุกตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิค multiplex ARMS-PCR ให้ผลที่สอดคล้องกับการตรวจด้วยเทคนิค PCR-RFLP นอกจากนั้นเทคนิค multiplex ARMS-PCR ยังให้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่รวดเร็วและช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มากกว่าการใช้เทคนิค PCR-RFLP โดยสรุป multiplex ARMS-PCR เป็นการตรวจวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพและดูเหมือนจะช่วยป้องกันความผิดพลาดจากการใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะ (restriction enzyme) ที่อาจเกิดขึ้นจากเทคนิค RFLP ได้The Hematology and Oncology Division, Department of Pediatrics had provided the analysis of Thiopurine S-methyltransferase (TPMT) variants using Polymerase Chain Reaction-Restriction Fragment Length Polymorphism (PCR-RFLP) method since 2004 and the prevalence of such variant was 4.27%. However, this technique seemed to be time-consuming and utilize several reagents. We, therefore, developed the new analytic method which was considered to be more time-saving and economical using multiplex Amplification Refractory Mutation System-Polymerase Chain Reaction (ARMS-PCR) to determine 4 variants of TPMT gene namely *2 (238G>C), *3A (460G>A, 719A>G), *3B (460G>A) and *3C (719A>G). The results showed that there were 150 samples randomized from all 749 samples to determine TPMT polymorphism. Of all samples, the multiplex ARMS-PCR technique yielded the complete concordant results to PCR-RFLP. The multiplex ARMS-PCR technique effectively reduced the cost and operation time compared to PCR-RFLP. In conclusion, the multiplex ARMS-PCR method provided the concordant results and appeared to be cost and time economical. Additionally, this method seemed to prevent the potential errors related to restriction enzymes during the process of RFLP.8 หน้าapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการตรวจวิเคราะห์ยีนTPMTThiopurineS-methyltransferase6-mercaptopurineการพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์ยีน TPMT ด้วยเทคนิค Multiplex ARMS-PCR ของห้องปฏิบัติการสาขาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี โรงพยาบาลศิริราชDevelopment of TPMT Gene Analysis using the Multiplex ARMS-PCR Technique in Hematology and Oncology Laboratory, Siriraj HospitalResearch Articleสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดลhttps://doi.org/10.14456/jmu.2022.2