Vu Dinh Tienอรพรรณ โตสิงห์Orapan Thosinghaวิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิชWimolrat Puwarawuttipanitมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์. ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์2019-06-132019-06-132019-06-132017Journal of Nursing Science. Vol.35(Suppl.1), No. 3 (July - September 2017), 22-30https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44081Purpose: To determine the relationships between co-morbidity, social support, symptom status, and quality of life among persons with end stage renal disease receiving hemodialysis. Design: Descriptive correlational research. Methods: The sample composed of 115 persons with end stage renal disease receiving hemodialysis in a tertiary care hospital in Hanoi, Vietnam. Data were collected using the patients’ hospital record and interview with 3 questionnaires: The Multidimensional Scale Perceived Social Support, the Edmonton Symptom Assessment System Scale, and the Kidney Disease Quality of Life-Short Form 36 Scale. Spearman’s Rho was employed to test the relationships among variables. Main findings: The findings revealed that the average score of quality of life among persons with end stage renal disease receiving hemodialysis was 45.53 (SD = 13.20), 62.61% of those had score of quality of life below average level. Co-morbidity and symptom status were negatively related to QOL (rs = - .46, - .67, p < .05). Social support was positively related to quality of life among persons with end stage renal disease (rs = .63, p < .05). Conclusion and recommendations: In order to improve quality of life among persons with end stage renal disease receiving hemodialysis, it is recommended that nurses should assess and manage patients’ symptoms, control their co-morbidity, and seek appropriate resources to support them.วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคร่วม การสนับสนุนทางสังคม และอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายจำนวน 115 คนที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยโรคไต โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล การวินิจฉัยโรค โรคร่วมและการรักษาจากแฟ้มประวัติของผู้ป่วย และใช้แบบสอบถาม 3 ชุดในการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ประกอบด้วย แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไต ใช้สถิติ Spearman’s Rho ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนคุณภาพชีวิตเท่ากับ 45.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.20 ร้อยละ 62.61 ของกลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนคุณภาพชีวิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ย การมีโรคร่วม และอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต (rs = - .46, rs = - .67) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต (rs = .63) สรุปและข้อเสนอแนะ: เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พยาบาลควรประเมินและจัดการกับอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายระยะสุดท้าย ควบคุมความรุนแรงของโรคร่วมและแสวงหาแหล่งสนับสนุนที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยengMahidol Universityquality of lifehemodialysisend stage renal diseasesocial supportsymptom statusco-morbidityคุณภาพชีวิตการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมภาวะไตวายระยะสุดท้ายการสนับสนุนทางสังคมภาวะโรคร่วมอาการที่สัมพันธ์กับโรคไตวายวารสารพยาบาลศาสตร์Journal of Nursing ScienceFactors Related to Quality of Life among Persons with End Stage Renal Disease Receiving Hemodialysisปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดArticleคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล