นฤมล จงจิตวิบูลย์ผลมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล2021-09-082021-09-082564-09-082561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63468ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 220จากสถิติของหน่วยตรวจฯ ปีพ.ศ 2557 ถึง พ.ศ 2559 พบผู้ป่วย กลุ่มโรคจิตเข้ารับบริการเป็น 1 ใน 5 ของผู้ป่วยทั้งหมด และพบผู้ป่วยมี อาการทางจิตกำเริบจากสาเหตุของการขาดยาและไม่มาติดตามการรักษา ต้องนอนโรงพยาบาล จำนวน 14 ราย 6 ราย และ 17 ราย ตามลำดับ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับยาฉีดออกฤทธิ์ระยะยาว การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มี อาการทางจิตกำเริบ ต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุรุนแรง จาก พฤติกรรมก้าวร้าว ไม่ร่วมมือ บางครั้งต้องมีรวบตัวผู้ป่วย ให้ยาสงบอาการ และผูกยึดผู้ป่วย ซึ่งเกิดความเสี่ยงต่อผู้รับและผู้ให้บริการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายใน การนอนรักษาในโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดูแลรักษา อย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงที่เกิดจากอาการทางจิตกำเริบจากสาเหตุที่ป้องกัน ได้ ทางหน่วยตรวจฯจึงจัดทำระบบเฝ้าระวัง ติดตาม และโปรแกรมการสอน สุขศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้ป่วยและญาติถึงความสำคัญของการมา ติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือของทีมแพทย์ พยาบาล นักวิชาการเวชสถิติ นักสังคมสงเคราะห์thaมหาวิทยาลัยมหิดลผู้ป่วยกลุ่มอาการทางจิตอาการทางจิตกำเริบติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องSafety MindProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล