รศรินทร์ เกรย์อมรา สุนทรธาดากฤติยาภรณ์ สุทธิบุตร2024-01-152024-01-15256025672560วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/92675วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุชายขอบเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สูงอายุทั่วไป และ 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สุขภาพ และสังคม ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุชายขอบ เกณฑ์ที่ใช้ในการกาหนดผู้สูงอายุว่าเป็นชายขอบหรือไม่ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 2) ปัจจัยด้านสุขภาพกาย 3) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว และ 4) ปัจจัยด้านความพึงพอใจในบริการของรัฐ โดยเป็นการศึกษาในกลุ่มประชากรตัวอย่างที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ตกเป็นกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปี 2554 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งได้แบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุทั่วไป และกลุ่มผู้สูงอายุชายขอบ โดยใช้วิธีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 12,695 คน แบ่งเป็นชาย 5,311 คน คิดเป็นร้อยละ 41.8 และเป็นหญิง 7,384 คน คิดเป็นร้อยละ 58.2 โดยมีผู้สูงอายุที่ตกอยู่ในกลุ่มเป็นคนชายขอบ 1,042 คน คิดเป็นร้อยละ 8.2 จากผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุชายขอบจะมีระดับความเครียดสูงกว่าผู้สูงอายุทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความเครียดของผู้สูงอายุชายขอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มี 4 ปัจจัย คือ1) การประเมินสุขภาพกาย พบว่า ผู้สูงอายุที่ประเมินสุขภาพกายของตัวเองว่าดี/ดีมากจะมีระดับความเครียดลดลง 2) การมีภาวะทุพพลภาพ พบว่า ผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะทุพพลภาพจะมีระดับความเครียดลดลง 3) ลักษณะการอยู่อาศัย พบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่กับบุตรโดยจะมีหรือไม่มีคู่สมรสและคนอื่นๆ ก็ได้ จะมีระดับความเครียดลดลงมากที่สุด รองลงมา คือ ผู้สูงอายุที่อยู่กับคู่สมรสและ/หรือคนอื่น โดยที่ไม่มีบุตร และ 4) ความพึงพอใจในบริการสุขภาพ พบว่าผู้สูงอายุที่มีความพึงพอใจในบริการสุขภาพจะมีระดับความเครียดลดลง ดังนั้นจะเห็นว่า ระดับความเครียดของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุชายขอบ คือ ภาวะสุขภาพ และการได้อยู่อาศัยกับบุตรหรือคู่สมรส จึงควรมีการส่งเสริมในเรื่องสาธารณสุขและการกระจายของแหล่งงานและอาชีพไปยังท้องถิ่นเพื่อลดปัญหาการย้ายออกไปหางานทำ และทาให้ผู้สูงอายุมีความสุขมากขึ้นThis study was aimed to explore marginalized older persons' mental health in comparison with general older persons and explore the relationship among demographic, economic, health and social characteristics that affect older persons' mental health. Indicators to marginalized state include: 1) Economic condition 2) Physical health 3) Family relationship and 4) Satisfaction with public services. The study had the target population aged 60 years and over from the 2011 Survey on Older Persons in Thailand conducted by the National Statistical Office. These older persons were divided into two groups, the general and the marginalized. Mean and standard deviation facilitated the analysis. In total, 12,695 people participated in this study including 5,311 males (41.8 percent) and 7,384 females (58.2 percent). Marginalized older persons accounted for 8.2 percent or 1,042. The multiple regression analysis revealed that the stress level in marginalized older persons was higher than general older persons significantly and statistically. Four factors affecting the stress level of the marginalized included: Health assessment: Persons with good or very good health would obtain the reducing stress level Disability: Persons without any disability would have the reducing stress level Living pattern: Persons living with children, and with or without spouses and others would obtain the maximum reduced stress level, followed by those living with spouses and others and Satisfaction with health service: Persons having satisfaction would achieve the reducing stress level. All mentioned findings proved the health condition and living with children or spouses as influential factors to marginalized older persons' stress. This study therefore recommended the promotion of health and opportunities for jobs as well as careers in order to cope with problems from migration and create a happier life for older persons.ก-ฌ, 103 แผ่นapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าผู้สูงอายุคนชายขอบ -- ไทยความเครียดในผู้สูงอายุบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้สูงอายุชายขอบFactors affecting marginalized older persons' stressMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล