อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์กุลนรา มณีคันธ์วงษ์2024-07-092024-07-09256325632567วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลเด็ก))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99562การพยาบาลเด็ก (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย (Correlational predictive design) เพื่อศึกษาความรู้สึกไม่แน่นอน และศึกษาอำนาจการทำนายของ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ และความเชื่อถือและยอมรับในบุคลากรทางสุขภาพ ต่อความรู้สึกไม่แน่นอนของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กก่อนเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ โดยใช้ทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของมิเชล (Mishel, 1988) เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด อายุแรกเกิด ถึง 15 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจครั้งแรก ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยจำนวน 75 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีตามสะดวก (Convenience sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สึกไม่แน่นอนอยู่ในระดับปานกลาง (M = 95.14, SD = 7.63) และการรับรู้ความรุนแรงของโรค การสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ และความเชื่อถือและยอมรับในบุคลากรทางสุขภาพ สามารถร่วมทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กก่อนเข้ารับการผ่าตัดหัวใจได้ร้อยละ 33.9 (R2 โดยการรับรู้ความรุนแรงของโรค มีอำนาจในการทำนายสูงสุด (β = .413, p < .001) รองลงมาคือ ความเชื่อถือและยอมรับในบุคลากรทางสุขภาพ (β = -.287, p = .004) และการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ (β = -.223, p = .026) ผลการศึกษาครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพ ควรมีการประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรค และพัฒนารูปแบบกิจกรรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ เพื่อลดความรู้สึกไม่แน่นอนของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กก่อนเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ = .339, F = 13.630, p < .001)This was a correlational predictive study aimed to examine uncertainty in illness and the factors influencing caregivers' uncertainty of children undergoing cardiac surgery by using Mishel's (1988) uncertainty in illness concept as the theoretical framework. The sample group comprised 75 caregivers of children undergoing the first-time cardiac surgery in a university hospital. The sample group was selected by convenience sampling. The data were collected by demographic data record forms and questionnaires. The data were analysed by descriptive statistics and multiple regression analysis. The results indicated that the sample group had a moderate level of the average score of uncertainty in illness. (M = 95.14, SD = 7.63). Perception of the severity of illness, credible authority in healthcare providers, and information and emotional support could explain 33.9 % of the variance in the caregivers' uncertainty of children undergoing cardiac surgery. (R2 = .339, F = 13.630, p < .001). The significant predictors were perception of the severity of illness (β = .413, p < .001), credible authority in healthcare providers (β = -.287, p = .004), and information and emotional support (β = -.223, p = .026). The finding of this research suggested that healthcare providers should assess perception of the severity of illness and develop information and emotional support interventions for reducing the levels of caregivers' uncertainty of children undergoing cardiac surgery.ก-ฎ, 161 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าผู้ป่วยเด็ก, การดูแลผู้ดูแลเด็กความไม่แน่นอนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กก่อนเข้ารับการผ่าตัดหัวใจFactors influencing caregivers' uncertainty of children undergoing cardiac surgeryMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล