ชีวรัตน์ วิโรจน์ธนานุกูลChewarat Wirojtananugoonมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชารังสีวิทยา2022-09-292022-09-292565-09-292556รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 36, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2556), 69-830125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79722Retinoblastoma เป็นมะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์ที่บริเวณจอประสาทตา (Retina) และเป็นมะเร็งของลูกตาเด็กที่พบบ่อยที่สุด เนื้องอกชนิดนี้อาจเกิดแบบ Sporadic หรือ เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Hereditary form) พบว่า ผู้ป่วยโรคนี้ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธูกรรม มี Retinoblastoma ที่ลูกตาทั้งสองข้างได้ถึง 85% และยังมีความเสี่ยงต่อการพบเนื้องอกชนิดนี้ในสมองร่วมด้วย (Trilateral retinoblastoma) ปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าในการรักษามะเร็งชนิดนี้จนสามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ รวมถึงความสามารถในการรักษาลูกตาและสายตาไว้ได้ หากตรวจพบและรักษาเนื้องอกชนิดนี้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การตรวจวินิจฉัยทางอาการแสดงทางคลินิกและทางกายภาพวินิจฉัยมีความสำคัญมาก เนื่องจาก Retinoblastoma เป็นมะเร็งหนึ่งในไม่กี่มะเร็งที่อาศัยเพียงข้อมูลจากการตรวจร่างกายและภาพวินิจฉัยในการตัดสินใจรักษาโรค โดยที่ยังไม่ได้ผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาก่อนรักษา ในที่นี้เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ retinoblastoma โดยเน้นที่ภาพวินิจฉัยthaมหาวิทยาลัยมหิดลจอประสาทตาRetinoblastomaRetinoblastoma: Role of ImagingReview Articleภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล