พรทิชา นันทานุกูจารุวรรณ ธาดาเดชปรารถนา สถิตย์วิภาวีพงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์Pornticha NantanukulCharuwan TadadejPratana SatitvipaweePongsakorn Atiksawedparit2025-04-292025-04-292568-04-292566รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 46, ฉบับที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2566), 19-310125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109822บทนำ: ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นเรื่องที่สำคัญของระบบสุขภาพ การมีวัฒนธรรมความปลอดภัยจะเป็นการประกันคุณภาพโรงพยาบาลและมาตรฐานการบริการระบบบริการสุขภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในบุคลากรในภาพรวมช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ในกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จำนวน 284 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 และทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา: บุคลากรมีการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย จำนวน 9 มิติ จาก 12 มิติ โดยมีระดับการรับรู้สูง (median [range], 4.00 [1.00 - 5.00]) ด้านความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่า ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาล (Adjusted OR, 2.85; 95% CI, 1.26 - 6.42) และนโยบายด้านความปลอดภัย (Adjusted OR, 9.5; 95% CI, 1.23 -73.37) มีความสัมพันธ์กับมิติการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) สรุป: บุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาล มีโอกาสรับรู้มิติการรับรู้ความปลอดภัยของผู้ป่วยในภาพรวมอยู่ในระดับสูง และบุคลากรที่รับทราบนโยบายด้านความปลอดภัยและปฏิบัติตาม มีโอกาสรับรู้มิติการรับรู้ความปลอดภัยของผู้ป่ วยในภาพรวมอยู่ในระดับสูงBackground: Patient safety is an important issue in healthcare systems. Safety culture ensures the quality of hospitals and sets the standard for healthcare systems. Objectives: To study the level of perception of patient safety culture, and factors related to the overall perception of safety in one university hospital during COVID-19epidemic. Methods: This cross-sectional survey included 284 participants who worked at the university hospital. Data were collected using questionnaires from April 21, 2022, to May 31, 2022, and analyses were performed. Results: Participants had a high perception of safety culture on 9 out of 12 dimensions (median [range], 4.00 [1.00 - 5.00]). The association between the variables found that the working experience in this hospital (Adjusted OR, 2.85; 95% CI, 1.26 - 6.42), and hospital policies on patient safety (Adjusted OR, 9.5; 95% CI, 1.23 - 73.37) were a statistically significant correlation with the overall perception of patient safety (P < .05). Conclusions: Personnel in this hospital with working experience had a high level of the overall perception of patient safety. Personnel who were aware of the safety policy and complied with it were likely to have had a high level of the overall perception of patient safety.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนโยบายความปลอดภัยของโรงพยาบาลการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่ วยUniversity hospitalPatient safety policyPerception of patient safety cultureความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายความปลอดภัยของผู้ป่วยกับการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของบุคลากรช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งRelationship Between Patient Safety Policies and Staff’s Perceptions of Safety Culture During COVID-19 Epidemic in One University HospitalOriginal Articleภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล