Uthaithip JiawiwatkulSupavan PhlainoiVatcharin HamratanaphonParanee Kunses2023-09-062023-09-06201020102023Thesis (Ph.D. (Population Education))--Mahidol University, 2010https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89421การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ออนไลน์แบบบูรณาการสำหรับ นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในมหาวิทยาลัยโดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนารูปแบบ 2) การทดสอบรูปแบบ 3) การปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบขั้นสุดท้าย ผลการพัฒนาในขั้นตอนแรกมีองค์ประกอบสำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านผู้พัฒนา องค์ประกอบด้านการประเมินความต้องการ องค์ประกอบผู้ที มีส่วนเกี่ยวข้องและองค์ประกอบด้านพื้นฐานทางด้านสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โมเดลต้นแบบในการพัฒนาบทเรียน ออนไลน์ แบบสอบถามความต้องการด้านเนื้อหา แบบวัดผลสัมฤทธ์ทางการเรียนหลังเรียน แบบวัดความพึงพอใจและแบบ ประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในมหาวิทยาลัย จำนวน 40 คน วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลีย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์การประเมินของ World Wide Web Consortium (W3C) ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบที พัฒนาทำให้เกิดความร่วมมือกันของผู้ที มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการแสดงความ คิดเห็นร่วมกันมีกระบวนการในการตัดสินใจร่วมกัน มีการเรียนรู้ซึ่งกันและนำไปสู่โมเดลการเรียนรู้ออนไลน์แบบบูรณา การในขั้นตอนสุดท้าย โดยประเด็นที่ได้หลังจากการทดสอบรูปแบบ ได้แก่ ส่วนองค์ประกอบด้านพื้นฐานทางด้านสังคม ควรมีการจัดตั้งทีมอาสาสมัครเพื่อเป็นพี่เลี้ยงซึ่งมีบทบาทให้นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมีความสามารถทาง วิชาการ ได้เท่าเทียมกับผู้เรียนทั่วไป ผลการประเมินรูปแบบ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ครบทั้ง 4 มาตรฐาน ตามเกณฑ์ มาตรฐานสากลขององค์กร W3C ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ออนไลน์แบบบูรณาการฯ ที พัฒนา นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และผลสัมฤทธ์ทางการเรียนหลังการเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับดีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้ออนไลน์แบบบูรณาการฯ ที่พัฒนาขึ้นมี ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ข้อเสนอแนะในการสร้างการเรียนรู้แบบออนไลน์สำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่อง ทางการมองเห็นนั้นควรพิจาณาถึงองค์ประกอบที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างการเรียนรู้และมีการปรับเครื่องมือที่นำมาใช้ ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนเพือให้นักศึกษาที มีความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถเรียนรู้ได้อย่างแท้จริงxi, 149 leaves : ill.application/pdfengBlind, Apparatus for the -- Technological innovationsComputer-assisted instructionCommunication devices for people with disabilities -- Technological innovationsPeople with visual disabilities -- Education -- ThailandPeople with visual disabilities -- Computer-assisted instructionThe development of an integrated online-learning model for the visually impaired students at universityการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ออนไลน์แบบบูรณาการสำหรับนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในมหาวิทยาลัยMahidol University