อมรรัตน์ นธะสนธิ์วิไล ตั้งปนิธานดีสุขฟอง วงศ์สถาพรพัฒน์พิชญา ทองโพธิ์นพวรรณ เปียซื่อAmornrat NatasonVilai TangpanithandeeSookfong WongsathapornpatPitchaya ThongpoNoppawan Piaseuมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี2020-01-092020-01-092563-01-092554รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 17, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2554), 493-5050858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/48792การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาพยาบาลโดยใช้โครงการตลาดนัดสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตร พยาบาลศาสตรบัณฑิต จำนวน 162 คน และผู้เข้าร่วมงานตลาดนัดสุขภาพที่โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี จำนวน 144 คน นักศึกษาเป็นผู้วางแผนการดำเนินการตลาดนัดสุขภาพ มีการจัด โครงสร้างสนับสนุนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลกระบวนการและผลลัพธ์ ของโครงการ โดยวัดความพึงพอใจจากการตอบแบบสอบถามด้วยตนเองของกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาและผู้เข้าร่วมงานตลาดนัดสุขภาพส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยรวม และมีความพึงพอใจด้านการจัดเลี้ยงอาหาร และการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดและ มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือการได้รับข้อมูลและแนวคิดข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ส่วนความพึงพอใจด้านสถานที่ในการจัดงานอยู่ในระดับน้อยที่สุด สำหรับผู้เข้าร่วมงานตลาดนัด สุขภาพมีความพึงพอใจด้านกิจกรรมการให้ความรู้และคำปรึกษามากที่สุด รองลงมาคือ วิทยากร ผู้ให้ความรู้และบรรยากาศภายในงาน ส่วนความพึงพอใจด้านระยะเวลาในการจัดงานอยู่ในระดับ น้อยที่สุด ผลการศึกษาแสดงถึงผลลัพธ์ของโครงการตลาดนัดสุขภาพที่เน้นการมีส่วนร่วม เป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลได้This study aimed to develop teaching and learning innovation for nursing students by using health fair. The sample consisted of 162 fourth year students in the Bachelor of Nursing Science Program and 144 Health Fair visitors at Ramathibodi School of Nursing. The Health Fair was organized by the students through the participation process. Data on process and outcomes were collected by a self-reported questionnaire on satisfaction. Results revealed that the majority of the students and visitors had overall satisfaction at the high to highest levels. The students reported their highest score on satisfaction with overall, food reception, and their participation in health fair activities following by receiving health promotion information and concept. Satisfaction with the setting was at the lowest level. The visitors reported their satisfaction at the high to highest levels with providing information and counseling, following by speakers, educators, and event atmosphere. Satisfaction with the time period for health fair activities was at the lowest level. The results indicate outcomes of the Health Fair addressing participation. It is an innovation that could be applied as a teaching and learning method for nursing students.0thaมหาวิทยาลัยมหิดลผลลัพธ์ตลาดนัดสุขภาพนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนความพึงพอใจOutcomeHealth fairTeaching and learning innovationSatisfactionการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลโดยใช้โครงการตลาดนัดสุขภาพThe Development of Teaching and Learning Innovation for Nursing Students Using Health FairResearch Articleโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล