สุขศิริ ประสมสุขทวี เชื้อสุวรรณทวีดลพร เผือกคงSuksiri PrasomsukTawee CheausuwantaveeDollaporn Phuakkhongมหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยาลัยราชสุดา2020-04-102020-04-102563-04-102560วารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ. ปีที่ 13, (ม.ค. - ธ.ค. 2560), 29 - 40https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/54066การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเรื่อง สถานการณ์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายด้านการบริการสุขภาพ สำหรับคนพิการของประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ความเข้าใจ และการใช้สิทธิทางกฎหมาย ด้านการบริการสุขภาพ 2) สภาพความจริงและประสบการณ์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในด้านบริการสุขภาพ ระหว่างข้อบัญญัติทางกฎหมายในอดีตและปัจจุบัน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของคนพิการ ผู้ปกครองคนพิการ บุคลากรทางด้านบริการสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องกับความรู้การใช้สิทธิทางกฎหมายและ สภาพความจริงประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายด้านบริการสุขภาพของคนพิการ วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัย ผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทำการสำรวจโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คนพิการ ผู้ปกครองคนพิการ แพทย์ พยาบาล บุคลากรผู้ให้บริการทางสุขภาพได้รับ แบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 449 ราย และทำการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติอ้างอิงแจกแจงแบบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความรู้และการใช้สิทธิทางกฎหมายด้านการบริการสุขภาพของ กลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับปานกลาง (M=2.85, SD=0.87) 2) ระดับการให้คะแนนสภาพความจริงและ ประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิทางกฎหมายด้านการบริการสุขภาพของคนพิการอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.81, SD=0.74) 3) ระดับความรู้และการใช้สิทธิทางกฎหมายด้านการบริการสุขภาพโดยรวม จำแนก ตามประเภทผู้ให้ข้อมูล อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประเภทของความพิการ มีความรู้และการใช้ สิทธิทางกฎหมายด้านการบริการสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง และ 4) ระดับสภาพความจริงและประสบการณ์ เกี่ยวกับการบริการสุขภาพของคนพิการโดยรวม จำแนกตามประเภทผู้ให้ข้อมูล อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประเภทของความพิการมีระดับสภาพความจริงและประสบการณ์เกี่ยวกับการบริการสุขภาพ ของคนพิการอยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยครั้งนี้ควรมีการต่อยอดงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในบริบทของ สังคมไทยเพื่อตอบโจทย์จากงานวิจัยครั้งนี้ต่อไปThis research aimed to conduct the “Situation on enforcement of law regarding health services provisions for persons with disabilities in Thailand”. The objectives of this study were to: 1) study the knowledge and understanding of the applicable law or health policy; 2) study the fact and law enforcement experience of health services, the provisions of the health law; and 3) study the relationship between the individual’s disability, parents of disabled persons, health personnel and related knowledge, use of legal rights and the reality experience with the health services of people with disabilities. The mixed method of quantitative and qualitative research was conducted by mailing questionnaires to a targeted group, including people with disabilities, parents, doctors, nurses and health care personnel. Questionnaires were returned by the target population of 449 cases which were analyzed quantitative data by descriptive analysis with t-test, One way ANOVA and analyzed qualitative data with content analysis. The results were shown that 1) the level of health legal knowledge and the right utilizing of the respondents was shown relatively moderate level (M=2.850, SD=0.865) 2) the level of the fact and law enforcement experience ofhealth servicesabouthealth legal knowledge and the right utilizingwas shown relatively moderate level (M=2.81, SD=0.744) 3) the level of knowledge and the healthright utilizingoverall classified by type of services, age, education, marital status, type of disability, level of legal knowledge and the right utilizing of health care were moderate level and 4) the level of the fact and experiences with health care services utilizing overall were classified by type of services, age, education, marital status, type of disability, level of legal knowledge and the right utilizing of health care were moderate level. This study was recommended that the researcher should be further study into the participatory action research to response the problems about real situation in Thai disability people contextthaมหาวิทยาลัยมหิดลนโยบายสุขภาพกฎหมายคนพิการHealth policyLawspeople with disabilitiesวารสารวิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการJournal of Ratchasuda College, Research and Development of Persons With Disabilitiesสถานการณ์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายด้านการบริการสุขภาพสำหรับคนพิการของประเทศไทยSituation on enforcement of law regarding health services provisions for persons with disabilitiesin ThailandArticleวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล