พรทิพย์ มาลาธรรมจิราพร คงเอี่ยมประคอง อินทรสมบัติPorntip MalathumJiraporn KongiemPrakong Intarasombatมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์2020-02-202020-02-202563-02-202552รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 15, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2552), 431-4480858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/52549การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุน จากครอบครัวและแรงสนับสนุนจากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท โดย ใช้กรอบแนวคิดแรงสนับสนุนทางสังคมเป็นแนวทางในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ ผู้ที่ มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และสมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตชนบท จังหวัด ฉะเชิงเทรา จำนวน 60 คู่ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเลขสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบคัดกรองการรู้จำ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการให้แรงสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุของครอบครัว แบบสอบถามการรับรู้แรงสนับสนุน จากครอบครัวและจากเพื่อนของผู้สูงอายุ และแบบสอบถามความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติบรรยาย และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า การให้แรงสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุของครอบครัว และการรับรู้แรงสนับสนุนจากครอบครัวของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้แรงสนับสนุนจากเพื่อนของผู้สูงอายุและความพึงพอใจในชีวิตของ ผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ พบว่าการรับรู้แรงสนับสนุนจากครอบครัวและการรับรู้ แรงสนับสนุนจากเพื่อนของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม คะแนนการให้แรงสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุตามการรับรู้ ของครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับแรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้สูงอายุ หรือ กับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็น ความสำคัญของแรงสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนในการส่งเสริมความพึงพอใจในชีวิตของ ผู้สูงอายุ และการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุนั้น หากผู้สูงอายุไม่รับรู้ อาจไม่ช่วยส่งเสริมความ พึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ ดังนั้น บุคลากรทางสุขภาพจึงควรหาแนวทางให้ผู้สูงอายุได้รับการ ตอบสนองความต้องการด้านแรงสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน และเครือข่ายทางสังคมอย่าง เหมาะสม เพื่อความพึงพอใจในชีวิตที่มากขึ้นThe aim of this descriptive correlational study was to explore the relationship of perceived giving support of family, perceived family support, and perceived friend support of older adults to life satisfaction of older adults. The concept of social support was used to guide this study. The research participants consisted of 60 dyads of family members and older adults who lived in Chacheongsao Province. The participants were recruited by simple random sampling using a random table. The eight instruments used in the study were the Set Test, the Demographic Questionnaire, the Modified Barthel ADL Index, the Chula ADL Index, the Family APGAR Questionnaire, the Friend APGAR Questionnaire, the Giving Support Questionnaire, and the Life Satisfaction Questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation. The results revealed that the mean scores of perceived giving support of family and perceived family support of older adults were categorized as high; perceived friend support of older adults was categorized as moderate. The mean score of life satisfaction of older adults was moderate. Perceived family support was moderately and positively correlated with life satisfaction. Perceived friend support was weakly and positively correlated with life satisfaction. However, perceived giving support of family was not correlated with life satisfaction of older adults. Surprisingly, giving support perceived by family was not significantly correlated with family support perceived by older adults. It could be concluded that family support and friend support perceived by older adults contribute to their life satisfaction. Nevertheless, high giving support perceived by the family may not necessarily contribute to older adults’ life satisfaction if the older adults do not perceive it as such. This study suggests that nurses and other health professionals should maintain and promote social support of older adults from various sources, especially from families and friends, to increase life satisfaction of older adults.thaมหาวิทยาลัยมหิดลการให้แรงสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุของครอบครัวการรับรู้แรงสนับสนุนจากครอบครัวการรับรู้แรงสนับสนุนจากเพื่อนความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุPerceived giving supportPerceived family supportPerceived friend supportLife satisfactionOlder adultsความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนจากครอบครัวและแรงสนับสนุนจากเพื่อนกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในชนบทRelationships of Family Support and Friend Support to Life Satisfaction of Older Adults in Rural AreasArticleภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล