ณัฐกาญจน์ นาคนวลมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะศิลปศาสตร์2018-03-072018-03-072561-032549The Journal. ปีที่ 2, ฉบับที่ 2 (2549), 51-67https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/9932บทความนี้ศึกษามโนทัศน์สตรีนิยมที่สะท้อนผ่านองค์ประกอบทางวรรณกรรม และ กลวิธีการใช้ภาษาในนวนิยาย เรื่องลับแลลายเมฆ ของปิยะพร ศักดิ์เกษม โดยพิจารณา จากแก่นเรื่อง โครงเรื่อง การสร้างตัวละคร และกลวิธีการใช้ภาษา ผลการศึกษาแสดง ให้เห็นว่า นวนิยายเรื่องนี้มีลักษณะเป็นวรรณกรรมสตรีที่แสดงมโนทัศน์สตรีนิยมเรื่อง คุณค่าของสตรี โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ ทำให้สตรีถูกลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ แก่นเรื่องเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเสียเปรียบ ของเพศหญิง ที่ค่อยๆ คลี่คลายปมปัญหาดังกล่าวโดยการดำเนินเรื่องแบบย้อน เหตุการณ์สลับไปมา โดยตัวละครที่ต่างก็สวมบทบาทแตกต่างกันไปตามความเป็นจริง ในสังคม ในส่วนของกลวิธีการใช้ภาษานั้น ลับแลลายเมฆจะใช้ถ้อยคำ ตลอดจน ข้อความที่เน้นย้ำให้ผู้อ่านตระหนักถึงปัญหาของการล่วงละเมิดทางเพศที่ปรากฏใน สังคมไทย ทั้งนี้ผู้เขียนได้พยายามชี้นำวิธีการแก้ปัญหาโดยการปลูกฝังจิตสำนึกของคน ในสังคมให้ตระหนักในคุณค่าความเป็นมนุษย์ของเพศหญิงและเพศชายที่เท่าเทียมกันThis article examines the conception of feminism reflected from literary elements and language techniques in Lap Lae Lai Mek, a novel by Piyaporn Sakkasem, by analyzing theme, plot, characterization and language techniques. The findings reveal that this work can be categorized as woman literature in which the values of women are presented, particularly, the sexual harassment issue which causes feminine devaluation. The theme which underlines the disadvantages of women is unfolded by recounting different events back and forth with different characters that reflect real situations of the society. The language techniques used in Lap Lae Lai Mek emphasizes the problem of sexual violation that occurs in the Thai Society. The author aims at implanting a decent conscience to the Thai society. Therefore human rights of women and the gender equality are raised through the text as a solution.thaมหาวิทยาลัยมหิดลลับแลลายเมฆ; ;สตรีนิยมวรรณกรรมสตรีThe Journalมโนทัศน์สตรีนิยมในลับแลลายเมฆของปิยะพร ศักดิ์เกษมArticleคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล