จรวยพร สุภาพวิชชุกาญจน์ มังกรระวิวรรณ แสงฉายปรารถนา สถิตย์วิภาวีมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาอนามัยครอบครัว.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ.2015-08-282021-09-152015-08-282021-09-152558-08-282546https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63531ประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 10 เรื่อง ความเป็นธรรมด้านสุขภาพกับความมั่นคงของมนุษย์: ความท้าทายในงานสาธารณสุข, วันที่ 17-19 ธันวาคม 2546 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546. หน้า 230.วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินระดับคุณภาพชีวิตและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่หญิงวัยกลางคน ของกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร วัสดุและวิธีการ: ประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่หญิงวัยกลางคน จำนวน 309 คน อายุ 40-60 ปี ที่ทำงานในกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร ยกเว้นผู้ที่สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ กรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองในการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2543 วิเคาะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบที และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: เจ้าหน้าที่หญิงวัยกลางคนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.8 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ สาถนภาพสมรส อาการของการหมดประจำเดือน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม และรายได้ครอบครัว ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต คือ ระดับชั้นยศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนบุตรที่อยู่ในครอบครัว โรคประจำตัว ระยะของการหมดประจำเดือน และการเป็นสมาชิกชมรม สรุป : จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุน ส่งเสริม การพัฒนาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสร้างเครือข่ายทางสังคม รวมทั้งการให้บริการโครงการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของข้าราชการหญิงวัยกลางคนของกองทัพเรือthaมหาวิทยาลัยมหิดลกรุงเทพมหานครกองทัพเรือคุณภาพชีวิตเจ้าหน้าที่คุณภาพชีวิตเจ้าหน้าที่หญิงวัยกลางคนของกองทัพเรือ กรุงเทพมหานครProceeding Poster