อัมพร กรอบทองศิริรัตน์ อนุศาสนีจันทร์เพ็ญ ลาพระอินทร์มหาวิทยาลัยมหิดล. ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. ฝ่ายแพทย์ทางเลือก2018-04-252018-04-252561-04-252556https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/11017หนังสือรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปีศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ครั้งที่ 1 เรื่องการแพทย์ผสมผสานและงานวิจัยเชิงประยุกต์ในหน่วยงาน. ณ ห้องประชุมศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ชั้น G นครปฐม, ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล. 2 เมษายน 2556. หน้า 292-310การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ Control-trial Study โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการกระตุ้นจุดฝังเข็มในการรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่ จากผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาในคลินิกฟ้าใสที่เข้าร่วมโครงการวิจัย รวม 4 แห่ง จำนวน 59 คน โดยได้รับความสมัครใจและยินยอมเข้าร่วมการรักษาโรคติดบุหรี่ด้วยการกระตุ้นจุดฝังเข็ม ในช่วงระยะเวลา ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2555 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์2556แบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดย Block of 4 ทั้ง 2 กลุ่มรับการชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ ประโยชน์ วิธีดำเนินการ ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ได้รับการกระตุ้นจุดฝังเข็มด้วยการติดแผ่นกระตุ้นไฟฟ้าที่ลำตัว ติดเม็ดแม่เหล็กกระตุ้นจุดฝังเข็มที่ใบหู กลุ่มทดลองเลือกใช้จุด LI4,EX-UE2,SP6,LR3,BL13,BL15 บนลำตัวและจุด Shenmen ,Lung บนใบหู กลุ่มควบคุมเลือกใช้จุดอื่นๆที่กำหนด ทั้ง 2 กลุ่มได้รับกระตุ้นโดยผู้ผ่านการฝึกอบรม นัดให้บริการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ตัวชี้วัดของการศึกษาได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ในการช่วยเลิกบุหรี่ การเปลี่ยนแปลงของรสชาดของบุหรี่ภายหลังการกระตุ้นจุดฝังเข็ม และระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก(exhaled carbon monoxide) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เพื่อแสดงผลข้อมูลทั่วไป ประวัติการสูบบุหรี่ สาเหตุการติดบุหรี่ ผลการวิจัยพบว่าการกระตุ้นจุดฝังเข็มสามารถช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) มีผลทำให้รสชาดของบุหรี่เปลี่ยนแปลงไป ร้อยละ 40 ในกลุ่มทดลอง และ ร้อยละ 13.8 ในกลุ่มควบคุม ภายหลังการกระตุ้นจุดฝังเข็มกลุ่มควบคุม มีระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก(exhaled carbon monoxide) ลดลงร้อยละ 70 และร้อยละ 55 ในกลุ่มควบคุม ผลสัมฤทธิ์ของการกระตุ้นจุดฝังเข็มในการรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญ((p<0.05)) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับรสชาดของบุหรี่ที่เปลี่ยนแปลง ประเทของบุหรี่ที่สูบ ระยะเวลาที่สูบ ความรุนแรงของการติด ทั้งนี้ผลการศึกษาเป็นการศึกษาเบื้องต้น ยังขาดการติดตามเพื่อดูผลสัมฤทธิ์ระยะยาว การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นจุดฝังเข็มสามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้ จึงสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดบุหรี่แบบผสมผสาน เพื่อช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากสารพิษในบุหรี่ และ ลดค่าใช้จ่ายของประเทศที่ใช้ในการบำบัดอาการถอนบุหรี่ได้thaมหาวิทยาลัยมหิดลการกระตุ้นจุดฝังเข็มโรคติดบุหรี่การเลิกบุหรี่การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการกระตุ้นจุดฝังเข็มเพื่อรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่Effects of Acupoint Stimulation in treatment for Tobacco AddictionProceeding Articleศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล