อภิพรรณ เอี่ยมชัยมงคลฐิติพร ภักดีพิบูลย์นพวรรณ แสนเจริญสุทธิกุลปภาวดี สุนทรธัยApiphan IamchaimongkolThitiporn PhakdepiboonNopawan SanjaroensuttikulPaphawadee Soontorntaiมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลบุรีรัมย์. หน่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู2022-09-202022-09-202565-09-202560รามาธิบดีเวชสาร. ปีที่ 40, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2560), 42-600125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79580วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฝึกลีลาศจังหวะบีกินด้วยตนเองที่บ้านต่อการเพิ่มสมรรถภาพการทรงตัวในกลุ่มผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติหกล้ม วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยฝึกลีลาศจังหวะบีกินด้วยตนเองที่บ้าน 30 นาทีต่อครั้ง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบหาค่า Timed up and go (TUG), Berg Balance Scale, Single Leg Stance Test ขาขวาและขาซ้าย (SLST-Rt and SLST-Lt) และความเร็วขณะเดินบนพื้นราบ โดยเก็บข้อมูลก่อนและหลังการฝึกการทรงตัวประกอบเพลงลีลาศจังหวะบีกินครบตามโปรแกรม ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 21 ราย อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) คือ 68 (6.4) ปี พบว่าค่าความแตกต่างก่อนและหลังฝึกของ TUG มีค่ามัธยฐาน (ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์) เป็น 0.95 (-0.43, 2.48) วินาที และค่าความแตกต่างก่อนและหลังฝึกของ Berg Balance Scale, SLST-Rt, SLST-Lt และความเร็วขณะเดินบนพื้นราบ มีค่าเฉลี่ย (95% CI) เป็น 4.81 (3.18, 6.44), 2.07 (0.32, 3.82) วินาที 2.37 (0.96, 3.78) วินาที และ 0.22 (0.11, 0.32) เมตรต่อวินาทีตามลำดับ โดยค่าตัวแปร TUG, Berg Balance Scale, SLST-Rt, SLST-Lt และความเร็วขณะเดินบนพื้นราบ ภายหลังการฝึกลีลาศจังหวะบีกินครบตามโปรแกรมดีขึ้นกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) สรุป: การฝึกทรงตัวประกอบเพลงลีลาศจังหวะบีกินด้วยตนเองที่บ้าน 30 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 6 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวของร่างกายและช่วยเพิ่มความเร็วในการเดิน ในกลุ่มผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติหกล้มObjectives: To evaluate the effect of home-based Beguine dance on balance in Thai elderly with a history of fall. Methods: A 30-minutes home base Beguine dance with simple balance exercise was performed twice a week for 6 weeks by following the instruction CD. The balance testing including the Timed up and go (TUG), Berg Balance Scale, Single Leg Stance Test of right and left leg (SLST-Rt and SLST-Lt) and Gait velocity were evaluated at pre and post training. Results: A 21 Thai elderly with a mean age (standard deviation) of 68 (6.4) were recruited. The median (Interquartile range) between pre and post training of TUG was 0.95 (-0.43, 2.48) sec. The mean difference (95% CI) between pre and post training of Berg Balance Scale, SLST-Rt, SLST-Lt and Gait velocity were 4.81 (3.18, 6.44), 2.07 (0.32, 3.82) sec, 2.37 (0.96, 3.78) sec and 0.22 (0.11, 0.32) m/s, respectively. After training, all of the balance test were significantly improved (P < 0.05). Conclusions: A 30-minute, twice a week for 6 weeks, home-base Beguine dance with simple balance exercise is effective to improving static and dynamic balance in Thai elderly with a history of fall.thaมหาวิทยาลัยมหิดลลีลาสจังหวะบีกินฝึกการทางตัวออกกำลังกายที่บ้านBeguine dancebalance trainingelderlyhome-base exerciseผลการออกกำลังกายด้วยเพลงลีลาศจังหวะบีกินด้วยตนเองที่บ้านต่อการเพิ่มสมรรถภาพการทรงตัวในผู้สูงอายุไทยที่มีประวัติหกล้มEfficacy of a Home-Based Beguine Dance on Balance in Thai Elderly with a History of FallOriginal Articleภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลหน่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลบุรีรัมย์