วิวัฒน์ วนรังสิกุลWiwat Wanarangsikulมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน2021-09-302021-09-302564-09-302559วารสารสาธารณสุขศาสตร์. ปีที่ 46, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2559), 71-812697-584X (Print)2697-5866 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/63748เพราะเหตุใดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนนทบุรีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางาน ด้านสาธารณสุข ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการและศึกษาองค์ประกอบที่ทำาให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี เข้ามา มีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาคือ ตัวแทนผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ใน “โครงการพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี” จำนวน 10 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ระดับลึกโดยใช้แนวทาง การสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้าน สาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขั้นตอน ต่าง ๆ คือ 1) รับทราบนโยบายจากสำานักงานจังหวัด เรื่อง “ยุทธศาสตร์บูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหา เอดส์แห่งชาติ” 2) ร่วมเป็น “คณะอนุกรรมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี” 3) วางแผน และกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี 4) ดำเนินงาน ภายใต้ “โครงการพัฒนาเครือข่ายดำเนินงานเพื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดนนทบุรี” และ 5) ติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน สำหรับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้าน สาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 6 ปัจจัย โดยจำาแนกเป็นปัจจัยภายในองค์กรและปัจจัยภายนอก องค์กร กล่าวคือ ปัจจัยภายในองค์กร 1. กฎหมาย เกี่ยวกับการกำหนดบทบาทหน้าที่ 2. วิสัยทัศน์ของ ผู้บริหาร 3. ศักยภาพทางด้านการเงินและการคลัง 4. ความตระหนักรู้ในปัญหาเอดส์ของผู้บริหารและ ผู้ปฏิบัติงาน และปัจจัยภายนอกองค์กร 5. อำนาจ ในการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาระดับสูงของจังหวัด 6. ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างองค์กร ดังนั้นจึงควร ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายพื้นที่ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข ในลักษณะของพหุภาคี และเจ้าหน้าที่ของทุกองค์กร ควรได้รับการอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ร่วมกัน โดยเฉพาะการทำความเข้าใจเรื่องกฎระเบียบ เกี่ยวกับงบประมาณWhy did the local administration at Nonthaburi Province participate in public health development? The objectives of this study was to identify the process of local administration participation in public health development at Nonthaburi Province and to study the factors associated with participation of local administration in public health development. In-depth Interview Guidelines were used to interview ten representatives (executives and executants) involved in the Nonthaburi AIDS Program of. Qualitative study was used to collect and analyze data The major steps of local administration participation in public health development process in Nonthaburi Province included perceived policy of the AIDS Program followed by joining the AIDS Program Subcommittee. Next, planning the AIDS Program and specifying the roles and functions of the subcommittee, conducting activities in the AIDS Program, and monitoring and evaluating operational activities. The underlying factors associated with local administration participation in public health development included., internal i.e., laws about the role of local administration, leader vision, latency of fi nance/budget and realizing the AIDS problem. External factors included potential of leaders in decision making, and social relationships between organizations. The recommendations of this study are to encourage local administration to participate in public health development using multilateral methods and officials of all organizations to attend meetings regarding finances, especially rules and regulations.thaมหาวิทยาลัยมหิดลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสุขภาพสาธารณสุขการพัฒนางานด้านสาธารณสุขโรคเอดส์local administrationhealthpublic healthpublic health program developmentAIDSบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรีต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านสาธารณสุขLocal Administration Participation in Public Health Development, Nonthaburi ProvinceOriginal Articleคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล