Pramote PrasartkulRindfuss, Ronald R.Aphichat ChamratrithirongAree JampaklayEntwisle, BarbaraJongjit Rittirong2023-09-062023-09-06201320132023Thesis (Ph.D. (Demography))--Mahidol University, 2013https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/89429งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครือข่ายญาติที่ผู้สูงอายุต้องการได้รับความช่วยเหลือ ความ เป็นไปได้ที่จะมีญาติเพื่อดูแล และปัจจัยที่มีเกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ที่จะมีญาติคอยให้ความช่วยเหลือ โดยใช้ ข้อมูลระยะยาวจากโครงการนางรองที่เก็บข้อมูลในพื้นที่อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ในปีพ.ศ. 2527, 2537 และ 2543 ชุดข้อมูลนี้ประกอบด้วยข้อมูลด้านประชากร เครือข่ายทางสังคม และพิกัดทางภูมิศาสตร์ของครัวเรือน ซึ่งช่วยให้ สามารถศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางประชากรและเครือข่ายญาติระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว งานวิจัยนี้ได้เก็บข้อมูล เชิงคุณภาพในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 เพื่ออธิบายผลวิจัยที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และประยุกต์ใช้การ วิเคราะห์ในสาขาวิชาต่างๆ กับการศึกษาทางประชากร ได้แก่ การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม การวิเคราะห์เชิง พื้นที่ และการวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุส่วนมากสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือของญาติที่ต้องการ ด้านการเตรียม อาหาร การดูแลใกล้ชิด การเดินทาง การเงิน และการสนับสนุนด้านอารมณ์ เนื่องจากส่วนมากมีญาติอาศัยอยู่ใน หมู่บ้านเดียวกันซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทความช่วยเหลือและเพศของผู้สูงอายุ ญาติที่ผู้สูงอายุต้องการได้รับความ ช่วยเหลืออันดับต้น ๆ ได้แก่ คู่สมรส ลูกสาว ลูกชาย หลานสาว และหลานชาย อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง ผู้สูงอายุมักได้รับความช่วยเหลือจากพี่น้องที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงและเพื่อนบ้าน การดูแลพ่อแม่ผู้ชราถือเป็นสิ่งที่ลูกควรปฏิบัติในสังคมไทยเพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณที่พ่อแม่ เลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก ประกอบกับธรรมเนียมการอยู่อาศัยหลังแต่งงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยลูกชายจะไปอยู่ ที่บ้านพ่อแม่ภรรยา ในขณะที่ลูกสาวจะให้สามีเข้ามาอยู่ในบ้านพ่อแม่ของตนเอง อีกทั้งการดูแลผู้สูงอายุใน ชีวิตประจำวัน เช่น การเตรียมอาหารและการดูแลใกล้ชิดถือเป็นงานของผู้หญิง ดังนั้นลูกสาวผู้ที่อยู่กับพ่อแม่ จะมี บทบาทสำคัญในการดูแลพ่อแม่ที่สูงอายุ แม้ในปัจจุบันผู้อายุยังสามารถหาผู้ดูแลที่เป็นญาติอยู่ในหมู่บ้านได้ไม่ยาก นัก แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประชากรที่กำลังจะกลายเป็นผู้สูงอายุในรุ่นถัดไปอาจจะขาดแคลนคนดูแล เนื่องจากพบว่าประชากรรุ่นลูกที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านมีจำนวนลดลงมากถึงร้อยละ 18 และส่วนมากเป็นนักเรียน หรือคนที่ทำงานในภาคเกษตรกรรมซึ่งมีแนวโน้มที่อาจจะย้ายถิ่นในอนาคตxiii, 167 leaves : ill., mapsapplication/pdfengAging parents -- family relationships -- Thailand -- BuriramiAging parents -- care -- Thailand -- BuriramiFamily -- Thailand -- BuriramElderly -- Thailand -- Buriram -- Social networkKinship -- Thailand -- BuriramAging -- Social aspectsCaregivers -- Thailand -- BuriramiOlder people -- Care -- Thailand -- BuriramiKinship networks of the Thai elderly in a rural area : a case study of Nang Rong district Buriram provinceเครือข่ายญาติของผู้สูงอายุในชนบท : กรณีศึกษา อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์Mahidol University