ภาพวิจิตร เสียงเสนาะพรพิรณุ ฝึกศิลป์นัฐพร อินทวชิรารัตน์Phapvijid SeangsanorPornpiroon PhuegsilpNattapporn Intawachiraratมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด2022-09-282022-09-282565-09-282564https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/79716ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน " Mahidol culture : M-A-H-I-D-O-L”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564. หน้า 135ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่มีความสามารถในการยืนทรง ตัวลดลง ทำให้มีความเสี่ยงที่จะล้มได้ง่ายการรักษาทางกายภาพบาบัดจะใช้ การฝึกการทรงตัวโดยให้ผู้ป่วยถ่ายน้ำหนักไปในทิศทางต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม นักกายภาพบำบัดอาจเลือกระดับความยากในการถ่ายน้ำหนักไม่เพียงพอที่จะ ทำให้เกิดการพัฒนาความสามารถในการยืนทรงตัว การใช้อุปกรณ์ฝึกการทรง ตัวที่มีการป้อนข้อมูลแบบย้อนกลับที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยถ่ายน้ำหนักไป ได้มากที่สุดโดยที่ไม่ล้ม น่าจะช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวได้มากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลทันทีของฝึกการทรงตัวที่มีการป้อน ข้อมูลแบบย้อนกลับต่อความสามารถในการถ่ายน้ำหนัก มีผู้เข้าร่วมงานวิจัยนี้ จำนวน 4 คน ผู้ป่วยยืนบนอุปกรณ์ฝึกการทรงตัวที่วัดความสามารถในการถ่าย น้ำหนักไปในทิศทางต่าง ๆ ได้แก่ หน้า หลัง ซ้ายและขวา โดยใช้ข้อเท้า จำนวน 2 รอบ จากนั้นนำค่าที่ได้มาคำนวณหาพื้นที่ต่อมาให้ผู้ป่วยฝึกถ่าย น้ำหนัก โดยฝึกถ่ายน้ำหนัก 5 ครั้ง และมีเวลาพัก 1 นาทีระหว่างการฝึกแต่ละ ครั้ง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลความสามารถในการถ่ายน้ำหนักก่อนและหลังการฝึก ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสามารถในการถ่าย น้ำหนักเพิ่มขึ้นทุกคน โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.5 (ต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 47.8 และสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 143.2)thaมหาวิทยาลัยมหิดลโรคหลอดเลือดสมองการทรงตัวการถ่ายน้ำหนักการป้อนข้อมูลแบบย้อนกลับMahidol Quality Fairผลทันทีของการฝึกถ่ายน้ำหนักโดยใช้อุปกรณ์ฝึกการทรงตัวที่มีการป้อนข้อมูลแบบย้อนกลับในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองProceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล