สุทธิศักดิ์ ศรีสวัสดิ์Sutthisak Srisawadมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์2021-05-282021-05-282564-05-282561https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/62325ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน “Mahidol Quality Fair 2018” “Valuing People : คุณค่าคน คุณค่างาน”. ณ อาคารมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม. 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. หน้า 15การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เป็นพันธกิจของงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยในด้าน/ความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการวิจัย ศึกษาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนางานวิจัยเพื่อตีพิมพ์บทความวิจัยในระดับนานาชาติบนฐานข้อมูล Scopus และศึกษาแนวทางการเพิ่มค่าอ้างอิง (Citation Index) ของหน่วยงานให้สูงขึ้น โดยเก็บข้อมูลเป็นงานวิจัยจากคณะพยาบาลศาสตร์ที่ตีพิมพ์บนฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – 2558 จำนวน 349 บทความ ผลการศึกษาพบว่า พบว่า งานวิจัยที่มีความร่วมมือในระดับต่างประเทศจะมีค่า SJR ของวารสารที่ตีพิมพ์ค่าอ้างอิงเฉลี่ยต่อปีและค่าอ้างอิงใน 3 ปีแรก สูงกว่า ความร่วมมือเฉพาะภายในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและความร่วมมือในกลุ่มประเทศที่มีค่า H-Index สูงสุด 10 อันดับแรก จะทำให้แนวโน้มค่าอ้างอิงใน 3 ปีแรกสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ในด้านการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ความร่วมมือในระหว่างประเทศจะส่งผลต่อค่าอ้างอิงเฉลี่ยต่อปีผ่านอิทธิพลทางอ้อมคือคุณภาพของวารสารที่ตีพิมพ์ (SJR) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(Indirect Effect = 0.176) (Zsobel = 3.457; P = 0.0005) ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของความร่วมมือด้านการวิจัยระดับต่างประเทศซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญในด้านการพัฒนาศักยภาพในด้านการตีพิมพ์งานวิจัยในระดับนานาชาติของคณะพยาบาลศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดลthaมหาวิทยาลัยมหิดลฐานข้อมูล SCOPUSความร่วมมือระหว่างประเทศค่าอ้างอิงข้อมูลบรรณมิตMahidol Quality Fairความร่วมมือระหว่างประเทศส่งผลอย่างไรต่อค่าอ้างอิงของงานวิจัยบนฐานข้อมูล SCOPUS ?Proceeding Abstractกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล