วรชัย ทองไทยมหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม2014-08-262017-10-252014-08-262017-10-252557-08-262555-09วารสารประชากร. ปีที่ 4, ฉบับที่ 1 (2555), 93-109.https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/2950บ้านพักสุดท้ายแห่งแรกในโลกเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่ถึงครึ่งศตวรรษนี้เอง ส่วนในเมืองไทยก็เริ่มเมื่อสองทศวรรษก่อน ซึ่งก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ทั้งนี้เพราะพื้นฐานแนวคิดที่แตกต่างไปจากสังคมไทยในเรื่อง ความตาย ครอบครัว ความต้องการ ความสุข และความทุกข์ รวมถึงค่านิยมและวิถีชีวิตที่แตกต่างกันด้วย ยิ่งกว่านั้น วิกฤตในสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเกิดจากการนำความรู้และวัฒนธรรมจากต่างประเทศเข้ามาใช้ โดยไม่ประยุกต์ให้เหมาะสมกับสังคมไทยเสียก่อน สำหรับบ้านพักสุดท้ายและบริบาลระยะท้ายซึ่งเป็นวิวัฒนาการจากต่างประเทศ จึงควรต้องมีการวิจัยศึกษาเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมา การที่มหาวิทยาลัยมหิดลประกาศจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจรและบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยจะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับบ้านพักสุดท้ายและบริบาลระยะท้ายด้วย อันนับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะบริการบ้านสุดท้ายในประเทศไทย ยังอยู่คงในระยะเริ่มต้น จึงพร้อมที่จะปรับให้เข้ากับความต้องการของสังคมได้ ไม่ใช่ให้สังคมปรับให้เข้ากับบริการที่มีอยู่ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ การบริการ ควรเป็นไปเพื่อความสุขของสังคมและคนหมู่มาก ไม่ใช่เพื่อผลกำไรของคนกลุ่มน้อยthaมหาวิทยาลัยมหิดลบ้านพักสุดท้ายบริบาลระยะท้ายบ้านพักสุดท้ายและบริบาลระยะท้ายHospice and hospice careArticle