Pakpoom ThintharuaPermphan Dharmasarojaภาคภูมิ ถิ่นท่าเรือเพิ่มพันธุ์ ธรรมสโรชMahidol University. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Chakri Naruebodindra Medical Institute,2022-07-252022-07-252022-07-252020Ramathibodi Medical Journal. Vol. 43, No. 3 (July-September 2020), 34-400125-3611 (Print)2651-0561 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/72242Histology is an essential field in the education of medical students, and competent knowledge in histology is very important when studying pathology. Current teaching methods for histology in medical schools involve using a conventional light microscope (CM) with or without a virtual microscope (VM). This review aims to present advantages and disadvantages of using CM and VM in terms of teaching and learning histology in the context of undergraduate medical education. One major advantage of the traditional CM histology learning method in laboratory practice is that this allows students to practice using a light microscope; however, study flexibility is limited as the students cannot take the microscope back home for self-study after the histology class has finished. Costly repairs and maintenance must also be considered when using CM. By contrast, VM technology can provide flexibility and convenience for both students and staffs. This method allows students to both self-study and group-study almost anywhere at any time. This review emphasizes that histology learning in undergraduate medical education using VM is no longer confined to the classroom. However, the basic skill of how to operate a conventional light microscope is still important for medical students because CM is commonly used in the hospital laboratories and some hospitals may not be equipped with VM technology.เนื้อเยื่อวิทยา (Histology) เป็นสาขาวิชาที่จำเป็นต่อการเรียนของนักศึกษาแพทย์ ความรู้เชี่ยวชาญในจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อมีความสำคัญต่อการศึกษาพยาธิวิทยา ปัจจุบันการสอนหัวข้อทางเนื้อเยื่อวิทยาในโรงเรียนแพทย์มักใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดา (Conventional light microscope) หรืออาจใช้ร่วมกับกล้องจุลทรรศน์แบบแสดงภาพเสมือน (Virtual microscope) บทความนี้นำเสนอข้อดีและข้อเสียของการใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดาและกล้องจุลทรรศน์แบบแสดงภาพเสมือนสำหรับการเรียนการสอนหัวข้อทางเนื้อเยื่อวิทยาในบริบทของการศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ข้อดีประการหนึ่งของการใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดาคือ ช่วยให้นักศึกษาแพทย์สามารถฝึกการใช้กล้องจุลทรรศน์ได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ความยืดหยุ่นในการเรียนนั้นมีจำกัด เนื่องจากนักศึกษาไม่สามารถนำกล้องจุลทรรศน์กลับบ้านเพื่อศึกษาด้วยตนเองได้หลังจากชั่วโมงการเรียนเสร็จสิ้น ค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ต้องใช้มีค่าใช้จ่ายสูงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดา ในทางตรงกันข้ามการใช้ระบบกล้องจุลทรรศน์แบบแสดงภาพเสมือน ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความยืดหยุ่นและความสะดวกในการเรียนและการสอน วิธีนี้ยังช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนแบบกลุ่มได้ทุกที่ทุกเวลา บทความนี้ชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้เนื้อเยื่อวิทยาโดยใช้ระบบกล้องจุลทรรศน์แบบแสดงภาพเสมือนจะช่วยให้การศึกษาของนักศึกษาแพทย์ไม่ถูกจำกัดอยู่ในห้องเรียนอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ความรู้เกี่ยวกับทักษะการปฏิบัติเพื่อการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดายังมีความสำคัญต่อนักศึกษาแพทย์ เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดายังคงมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล และโรงพยาบาลหลายแห่งยังไม่มีการติดตั้งระบบกล้องจุลทรรศน์แบบแสดงภาพเสมือนengMahidol UniversityHistologyConventional light microscopeVirtual microscopeMedical educationเนื้อเยื่อวิทยากล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดากล้องจุลทรรศน์แบบแสดงภาพเสมือนแพทยศาสตรศึกษาHistology Study in Undergraduate Medical Educationเนื้อเยื่อวิทยาสำหรับการศึกษาแพทยศาสตร์ระดับปริญญาตรีReview ArticleChakri Naruebodindra Medical Institute Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital Mahidol University