กิตติมา แตงสาขาวันทนา มณีศรีวงศ์กูลพรรณวดี พุธวัฒนะKittima TaengsakhaWantana ManeesriwongulPanwadee Putawatanaมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี2019-07-082019-07-082562-06-282562รามาธิบดีพยาบาลสาร. ปีที่ 25, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 87-1010858-9739 (Print)2672-9784 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/44269การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้ป่วย ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การสนับสนุนทางสังคม ลักษณะอาการเจ็บป่วย ปัจจัยด้านยาที่ใช้รักษา และลักษณะสถานบริการกับความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต มารับบริการ ณ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม จำนวน 376 ราย ที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป การรักษา และลักษณะสถานบริการ แบบวัดความร่วมมือในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง แบบวัดความรู้เกี่ยวกับภาวะความดันโลหิตสูงและแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนโรคร่วมและอาการข้างเคียงของยาที่พบบ่อย คือ ปัสสาวะบ่อยและอาการไอ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้พบว่า ความสะดวกในการเดินทางมารับบริการ และความสะดวกในการรอรับบริการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ลักษณะของผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต การศึกษานี้มีประโยชน์ในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรักษา การให้ความรู้ควรเน้นเรื่องยาและการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ควบคู่กับการสนับสนุนทางสังคมของบุคคลในครอบครัว เพื่อน และเจ้าหน้าที่สุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิตและชะลอความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนทางไตThis study aimed to explore the relationships between demographic factors, knowledge about hypertension, social support, disease characteristics, medication factors, and clinical settings with adherence to treatment among persons with essential hypertension and early renal insufficiency. A sample of 376 persons with essential hypertension was purposively recruited at the hypertension clinic of a community hospital in Nakhon Pathom Province. The research tools included questionnaires on demographic characteristics, treatment and clinic characteristics, adherence to hypertensive treatment, hypertension knowledge, and social support. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson Product Moment Correlation,and Spearman Correlation. These findings revealed that the sample’s knowledge about hypertension and social support had significantly positive relationships with adherence to treatment. The participants were significantly less likely to adhere to treatment if they had comorbidity or side effects of medications, such as frequent urination or dry coughing.In addition, convenient access and convenient use of service had significant relationships with adherence to treatment. However, adherence to treatment did not show a significant relationship with demographic factors examined. These findings emphasize the need to inform patients about their medications and treatment, and ensure that they have social support from family, friends, and healthcare providers, in order to help them adhere to treatment and thereby control blood pressure and preserve renal functions.thaมหาวิทยาลัยมหิดลรามาธิบดีพยาบาลสารRamathibodi Nursing Journalความร่วมมือในการรักษาการสนับสนุนทางสังคมความดันโลหิตสูงภาวะแทรกซ้อนทางไตAdherence to treatmentHypertensionSocial supportRenal insufficiencyปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตFactors Related to Adherence to Treatment in Essential Hypertensive Patients with Early Renal InsufficiencyArticleโรงเรีียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล