วรชัย ทองไทยรศรินทร์ เกรย์มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม2014-08-272017-11-022014-08-272017-11-022557-08-272554-09วารสารประชากร. ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (2554), 31-50.https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/3050ลัทธิบริโภคนิยมที่เชื่อว่า “บริโภคมาก มีความสุขมาก” ทำให้เกิดความหลงผิดในเรื่องการพนันและหนี้สิน โดยให้นิยามของการพนันว่า เป็นเครื่องหย่อนใจชนิดหนึ่งที่อาศัยความมีโชค จึงทำให้หลงคิดว่า การพนันทำให้มีความสุข ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้คนคิดว่า ผู้มีหนี้สินเป็นคนทันสมัย มีเครดิตดี เพราะสามารถนำเงินในอนาคตมาบริโภคในปัจจุบันได้ แต่ค่านิยมดั้งเดิมของคนไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาที่สอนว่า การพนันเป็นอบายมุข ก่อให้เกิดทุกข์ และการเป็นหนี้ก่อให้เกิดความทุกข์ ยังคงเป็นความจริงอยู่หรือไม่ งานวิจัยนี้จึงมีสมมุติฐาน 2 ข้อคือ “คนเล่นพนันมีความสุขน้อยกว่าคนไม่เล่นพนัน” และ “คนมีหนี้สินมีความสุขน้อยกว่าคนไม่มีหนี้สิน” ผลการวิเคราะห์ด้วย Binomial Logistic Regression โดยใช้ข้อมูลจากโครงการวิจัยบูรณาการเชิงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างมีส่วนร่วมในภูมิภาคตะวันตก ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ไม่ยอมรับสมมุติฐานข้อ 1 แต่ยอมรับสมมุติฐานข้อ 2 ทำให้ยังบอกไม่ได้ว่า การพนันก่อให้เกิดทุกข์หรือไม่ แต่กล่าวได้อย่างชัดเจนว่า “ความสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้”thaมหาวิทยาลัยมหิดลการพนันหนี้สินความสุขการพนัน หนี้สิน และความสุขGambling, debt and happinessArticle