วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์บัญญัติ ยงย่วนแก้วตา นพมณีจำรัสเลิศปัทมา ศิวะโกศิษฐ2024-01-022024-01-02256025602567https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/91612พัฒนาการมนุษย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล 2560)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเล่านิทานที่มีต่อพฤติกรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม และวิธีการส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมในระยะยาว รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยทาการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิที่ได้รับการอนุเคราะห์สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นข้อมูลจากการวิจัยเชิงทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลังการทดลอง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นเตรียมอนุบาล-อนุบาล 3 ที่ศึกษาอยู่โรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จานวน 123 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Dependent Sample t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาในส่วนของข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลจากการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า คะแนนพฤติกรรมจริยธรรมของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองทั้ง 3 ด้าน (p<0.001) โดยด้านความเมตตากรุณาเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือการควบคุมตนเอง และการพึ่งพาตนเอง ตามลาดับ ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า การเล่านิทานมี 3 บทบาทในการส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรม คือ 1) เป็นสื่อสอนความดีได้อย่างเป็นรูปธรรม 2) เป็นต้นแบบให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก และ 3) เป็นสื่อที่ใช้ตักเตือนพฤติกรรมเชิงลบในทางอ้อม นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ปัจจัยภายนอกและภายในตัวเด็ก คือ สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็ก และอายุของเด็ก อีกทั้งยังทราบถึงวิธีการที่ครูและผู้ปกครองใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมจริยธรรมในระยะยาวอีก 7 วิธีด้วยกันThe purposes of this research were to study the effects of storytelling on moral behaviors of preschool children in private schools in Bangkok, as well as other influencing factors and how to promote moral behaviors in long term. The research format was a combination of both quantitative (pre-experimental) and qualitative research (in-depth interview). The researcher used the secondary data provided by Office of the Education Council, Ministry of Education, of which samples were 123 preschool children who studied in private schools in Bangkok. Descriptive statistics and Dependent T-test were used in analyzing and comparing quantitative data, whereas Content Analysis was used in analyzing qualitative data. The results from the pre-experimental research showed that the posttest moral behavior scores became higher than the pretest in all 3 categories (p<0.001). Generosity scores increased the most, followed by self-control and self-reliance, respectively. Likewise, the analysis of in-depth interviews also proved that storytelling acted in 3 major roles of promoting moral behaviors including: 1) to view concrete examples of moral principles, 2) to encourage positive behaviors and 3) to admonish against negative behaviors indirectly. In addition, the content analysis revealed that environment and age were also important external and internal factors affecting moral behaviors of preschoolers. Lastly, the research indicated 7 basic ways that teachers and parents widely used to promote moral behaviors of preschool children in the long run.ก-ฎ, 176 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าการเล่านิทานเด็ก -- สุขภาพและอนามัยเด็กกับศีลธรรมจรรยาจริยธรรมผลของการเล่านิทานที่มีต่อพฤติกรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครThe effects of storytelling on moral behaviors of preschool children in private schools in BangkokMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล