อุดม คมพยัคฆ์พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณทัศนีย์ นนทะสรสุนีย์ ละกำปั่นฉวีวรรณ บุญสุยาวาสนา จันทร์สว่างกอปรชุษณ์ ตยัคคานนท์วิไลเลิศ เขียววิมลUdom KompayakPimpan SilpasuwanSunee Lakampan Chaweewon BoonshuyarWasana JunsawangTassanee Nontasonมหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาพยาบาลสาธารณสุข.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาชีวสถิติ.มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะสาธารณสุขศาสตร์. ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์.2012-11-162020-09-212012-11-162020-09-212544https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/58701การจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ ประเมินคุณค่าของระบบวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อประมินความร่วมมือในการจัดโครงการการศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต (ต่อเนื่อง) 2 ปี ภาคใต้ โดยเน้นความสอดคล้องและความสัมพันธ์ของหลักสูตรในส่วนที่เป็นแผนและการปฏิบัติในสถานการณ์จริง นับตั้งแต่โครงสร้าง กระบวนการและผลลัพธ์ รวมถึงผลกระทบของโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินผลเชิงวิจัย แบบสำรวจ เชิงพรรณนาร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ตัวอย่างศึกษาได้แก่ ศิษย์เก่ารุ่นปี พ.ศ. 2537-2539 ศิษย์ปัจจุบันชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 พ.ศ. 2541 ผู้บริหารหลักสูตร คณาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยและแหล่งฝึกปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชา ประชาชนผู้ใช้บริการและ อ.ส.ม. ผู้ช่วยงาน วิธีดำเนินการโดยจัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สังเกต สัมภาษณ์ตามสถานการณ์จริงของสถานที่จัดการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ อีกทั้งได้ประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิตฯ ตามการรับรู้ของตนเอง ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และประชาชนผู้ใช้บริการ รวมถึงความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบัณฑิต สบ.มอ. ตลอดจนติดตามประเมินความพร้อมของแหล่งฝึกปฏิบัติ ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ F-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ อีกทั้งสำรวจ ประเมิน สถานที่ศึกษา ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ตรัง และโรงพยาบาลชุมชน และฝ่ายเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลการประเมิน พบว่าโครงการที่จัดขึ้นเป็นเจตนารมณ์ที่ดีแต่การนำแผนสู่การปฏิบัติยังมีปัญหา สถาบันบริการสุขภาพซึ่งเข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น แต่เพิ่มภาระและส่งผลกระทบต่องานบริการที่มีอยู่ อีกทั้งมีปัญหาในเชิงคุณภาพ มาตรฐานการจัดการเรียนการสอน ภาคปฏิบัติ ณ แหล่างฝึกที่แตกต่างกัน ตลอดจนปัญหาของการบริหารจัดการในด้านประสานงาน สำหรับโครงสร้างและกระบวนการจัดหลักสูตร ส.บ. ต่อเนื่องมีความสัมพันธ์และสอดคล้องภายในนับตั้งแต่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ระดับไม่ดีนัก ควรปรับปรุงในส่วนกระบวนการของหลักสูตร และผลลัพธ์ บัณฑิตมีความรู้ความสามารถในระดับดีรวมถึงมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ประชาชนผู้ใช้บริการพึงพอใจแต่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าความสามารถอยู่ระดับค่อนข้างต่ำ จึงได้มีข้อเสนอให้ทบทวนปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนและคณะผู้สอน เนื้อหาสาระและกระบวนการจัดการเรียนการสอนของวิชาบางวิชา การเตรียมความพร้อมและการควบคุมกำกับแหล่งฝึกปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันIt is recognized that curriculum evaluation should be an ongoing process especially for higher education. The objectives of this study were to evaluate an achievement of the co-operative project between the Public Health Ministry and the University of Songklanakarin on the two-year continuing education on the Bachelor Degree program in Public Health (in Southern area), in terms of courses planning and implementing such as input, process, output and the impacts of the curriculum system; to identify articulate priorities according to related and congruent components of each phase of the curriculum. An integration of qualitative and quantitative approaches was performed for this evaluative research model. The sample were the alumnus, students, chiefs, education service providers and people using health services at the health centers. Various kinds of technique such as ; seminar, workshop, focus group interview, in-depth interview, observation and documentary review of the curriculum were used for data collection from the university and district health centers where students practiced their learning ability skills. The research result showed some congruent and unrelated parts to the curriculum implementation process as well as curriculum outputs. However, the graduates and some target population were satisfied to their health service performances and abilities. On the contrary their chiefs perceive that the ability of the alumni was performed low quality, there for, they should be considered increasing in learning ability skills in order to improve their ability in practices. In addition to improve quality of student’s outcome, stakeholders should revised the curriculum planning, implementation as well as curriculum evaluation.91 mbapplication/pdfthaมหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หลักสูตรคณะสาธารณสุขศาสตร์ความร่วมมือทางการศึกษารายงานวิจัยประเมินผลโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในการผลิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) 2 ปี ภาคใต้Research Reportมหาวิทยาลัยมหิดล