ธนวรรฒ ยี่คิ้วฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญณัฐนารี เอมยงค์Thanawat YeekewChardsumon PrutipinyoNatnaree Aimyong2025-04-092025-04-092568-04-092567วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. ปีที่ 10, ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2567), 595-6082697-6285 (Online)https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/109397การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและธรรมาภิบาล เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับธรรมาภิบาลและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับธรรมาภิบาลของบุคลากร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชุมพร จำนวน 265 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นด้านธรรมาภิบาล 0.76 และด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 0.87 วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติค่า T สถิติความแปรปรวนทางเดียว สถิติสหสัมพันธ์เชิงอันดับสเปียร์แมนและสถิติถดถอยพหุคูณเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและธรรมาภิบาลของบุคลากร อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีธรรมาภิบาลไม่แตกต่างกัน (3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับธรรมาภิบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (4) อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เรียงจากอิทธิพลเชิงบวกมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล ด้านอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนต่อธรรมาภิบาลได้ร้อยละ 40 (Adjusted R- Square = 40) ดังนั้น ผู้บริหารควรให้ความสำคัญและส่งเสริมการสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล ด้านอิทธิพลเชิงอุดมการณ์และธรรมาภิบาลในบุคลากรทุกระดับอันอาจส่งผลให้บุคลากรมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นThis study aimed to examine (1) the levels of transformational leadership and good governance, (2) comparing good governance with personnel, (3) analyzing the relationship between transformational leadership and good governance among personnel. (4) influential factors of transformational leadership on good governance. The sample group consisted of 265 personnel from district public health offices and sub-district health promotion hospitals in Chumphon province. Data were collected using questionnaires with reliability coefficients of 0.76 for good governance and 0.87 for transformational leadership. The analysis was conducted using descriptive statistics, t-tests, one-way ANOVA, Spearman rank correlation, and stepwise multiple regression analysis. The research findings revealed that (1) transformational leadership behaviors and good governance of personnel were at a high level; (2) different personal factors did not significantly affect good governance; (3) transformational leadership was significantly correlated with good governance at the 0.01 level; and (4) The influence of transformational leadership on good governance in descending order, included individual consideration and idealized influence, collectively explaining 40% of the variance in good governance (Adjusted R-Square = 0.40) Therefore, executives should prioritize and promote the development of transformational leadership focused on individualized consideration, idealized influence, and good governance among personnel at all levels, which may lead to increased efficiency in staffs’ performance.application/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าธรรมาภิบาลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงบุคลากรสาธารณสุขGood GovernanceTransformational LeadershipHealthcare Personnelภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการบริหารกับธรรมาภิบาลของบุคลากรสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัดชุมพรTransformational Leadership and Good Governance of Personnel at District Public Health Office in Chumphon ProvinceOriginal Articleภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล