อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์กาญจนา ตั้งชลทิพย์รักษ์ศิริ สุวรรณประทีป2024-07-092024-07-09256325632567วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (วิจัยประชากรและสังคม))--มหาวิทยาลัยมหิดล, 2563https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/99560วิจัยประชากรและสังคม (มหาวิทยาลัยมหิดล 2563)การศึกษาเรื่องกระบวนการสร้างนักศึกษาให้เป็นเกษตรกรของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของนักศึกษาที่ตัดสินใจเข้ามาเรียน กระบวนการสร้างนักศึกษาให้เป็น เกษตรกร และเพื่อประเมินความคาดหวังและโอกาสของนักศึกษาหลังเรียนจบภายใต้บริบทสังคมในปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งจะใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน 5 คน และศิษย์เก่า 3 คน และใช้วิธีกลุ่มสนทนานักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี ที่ 3 จำนวน 20 คน การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งผลการวิจัยเป็น 3 ประเด็นได้แก่ 1) เรื่องราวการตัดสินใจเข้ามาเรียนของนักศึกษาซึ่งพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถศึกษาต่อที่อื่นได้ 2) กระบวนการสร้างนักศึกษาให้เป็นเกษตรกร ซึ่งพบว่าการเรียนการสอนสามารถสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้นักศึกษามีความสนใจและสนุกกับการเรียนได้เป็นอย่างดี และ 3) ความคาดหวังและโอกาสเมื่อสำเร็จการศึกษา ซึ่งพบว่าปัญหาข้อจำกัดในเรื่องทุนและที่ดินทำกินเป็นอุปสรรคในการตัดสินใจเป็นเกษตรกรได้ตามที่คาดหวังไว้ ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังนี้ 1) หลักสูตรควรได้รับการพัฒนาในเชิงเนื้อหาที่สนับสนุนทักษะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดความสำคัญของที่ดินทำกิน 2) เน้นการอบรมหรือศึกษาดูงานจากเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมมากกว่าที่จะเน้นการสอนวิชาการในห้องเรียน 3) เพิ่มการเรียนการสอนที่ฝึกการปฏิบัติและฝึกงานที่เพิ่มศักยภาพของนักศึกษาในด้านที่เกี่ยวกับการตลาด การเพิ่มมูลค่าผลผลิต และการเกษตรที่ใช้ต้นทุนต่ำThis study aimed to 1) find out the conditions of students' decision to join the college, 2) study the process of preparing students to become farmers, and 3) evaluate prospect and chance of students after graduation under the current social context. A qualitative research method was used in this study i.e. in-depth interview techniques were carried through five administrators and lecturers and three alumni, and group interview techniques were done with twenty 3rd - year vocational certificate students. This study discovered three relevant information about the College of Agriculture and Technology: 1) most of the students who come to this college have limitation to attend in other high schools, 2) the teaching and learning system can motivate and inspire students to have a great interest and enjoyment, 3) lack of funding and restrictions of land are problems for students which enable them to become farmers as expected. The following policy recommendations are proposed in this study, such as the curriculum should be developed to focus on technological utilization and innovation for reducing the importance of arable land; course of studies have to emphasize on skills rather than academics; farm practices and internships should enhance students potentials, learning in marketing, value chain and value-added, low-cost production management, and modern agriculture are necessary for the current circumstance.ก-ฌ, 103 แผ่น : ภาพประกอบapplication/pdfthaผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าเกษตรกรรม -- การศึกษาและการสอนวิทยาลัยเกษตรกรรมกระบวนการสร้างนักศึกษาให้เป็นเกษตรกรของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกThe process of preparing students to be farmers : a case study of a college of agriculture and technology in Eastern ThailandMaster Thesisมหาวิทยาลัยมหิดล