Waranyu WongsereeSupaporn KiattisinBunlur EmaruchiSuchart Aoochay2024-02-072024-02-07201320132013Thesis (M.Sc. (Technology of Information System Management))--Mahidol University, 2013https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/20.500.14594/95226Technology of Information System Management (Mahidol University 2013)This study aims to describe the potential risk areas by using Geographic Information Systems (GIS) to create maps displaying area at risk of Chikungunya Fever (CHIKV) epidemics in Surat thani province and to study the relationship between CHIKV incidences with environmental factors by multiple regression analysis. This research divided the factors into three environmental factors including; total annual rainfall, average annual temperature and average annual air pressure. For studying risk areas by three epidemic factors, the study represents epidemic measures index consisting of classification. The high risk areas included Phanom district, Vibhavadi district, Ban Na San district, Phrasaeng district, Kanchanadit district and Chai Buri district. The spatial autocorrelation of all environmental factors is classified into patterns. The factor of air pressure is the clustering pattern. However, the factor of rainfall and temperature are the random pattern. In the analysis of the relationship between CHIKV incidence with environmental factors, the Correlation Coefficient is 0.59 (r = 0.59). The result from this study, shows potential risk factors and Geographic Information Systems (GIS) can be used to assess the risk for the outbreaks of CHIKV and plan, control and prevent the outbreak of CHIKV. Furthermore, this information can be applied to health care in the future. That can be reduce the spread and disease severity rate of Chikungunya Fever as well as other vector - borne diseases.การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยใช้ระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ เพื่อสร้างแผนที่แสดงพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคชิคุนกุนยา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดโรคชิคุนกุนยา กับปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมโดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการวิเคราะห์ข้อมูล อย่างไรก็ตาม ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องออกเป็นสามปัจจัยประกอบด้วย ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิเฉลี่ยและความกดอากาศเฉลี่ยต่อปี สำหรับการศึกษาปัจจัยเสี่ยงทั้งสามปัจจัยนั้นได้ใช้ดัชนีการวัดการระบาดของโรคด้วยการแบ่งกลุ่มของ พื้นที่ ซึ่งพบว่าพื้นที่มีความเสี่ยงสูง คือ อำเภอพนม อำเภอวิภาวดี อำเภอบ้านนาสาร อำเภอพระแสง อำเภอ กาญจนดิษฐ์และอำเภอชัยบุรี การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของปัจจัยสภาพภูมิอากาศพบว่า ปัจจัยด้าน ความกดอากาศมีรูปแบบการกระจายแบบกลุ่ม ส่วนปัจจัยด้านปริมาณน้ำฝนและปัจจัยด้านอุณหภูมิมี รูปแบบการกระจายแบบสุ่ม ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคชิคุนกุนยาที่มีปัจจัยทางด้าน สภาพแวดล้อมพบว่า มีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ 0.59 ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่าปัจจัยทางด้าน สภาพแวดล้อม และ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถนำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงของการแพร่ ระบาดของโรคชิคุนกุนยาได้ และนอกจากนี้ยังนำไปสู่การวางแผน ควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค ชิคุนกุนยาได้ ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการดูแลรักษาใน อนาคตได้อีกด้วย โดยสามารถ ลดการแพร่ระบาด และอัตราความรุนแรงของโรคชิคุนกุนยา ได้ เช่นเดียวกับโรคติดต่อที่นำโดยแมลงอื่น ๆx, 61 leaves : col. ill.application/pdfengผลงานนี้เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ขอสงวนไว้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าGeographic information systems -- Thailand -- SuratthaniEpidemiology -- Thailand -- SuratthaniEpidemiology -- Mathematical modelsChikungunya FeverStudy of potential risk of chikungunya fever outbreak in Suratthani province using GIS and statistical modellingการศึกษาความเสี่ยงที่จะเป็นไปได้ในการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และรูปแบบทางคณิตศาสตร์Master ThesisMahidol University